จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2

เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ => วัดในจังหวัดเชียงใหม่ => ข้อความที่เริ่มโดย: konhuleg ที่ พฤษภาคม 14, 2015, 02:57:24 PM



หัวข้อ: ตะลอนเที่ยววัดเชียงใหม่ "วัดช่างกระดาษ"
เริ่มหัวข้อโดย: konhuleg ที่ พฤษภาคม 14, 2015, 02:57:24 PM
ช่วงนี้ในเวลากลางวัน ถือว่าอากาศร้อนกันมากๆ ครับ ยิ่งในช่วงเที่ยงวันและบ่ายๆ ไปใครออกมาของนอกรับรองโดนแดดแผดเผาไหม้ในระดับ 30 – 40 องศา หน้ามืดตามัวแทบจะเป็นลมกันเลยล่ะ ฉะนั้นถ้ามีธุระอะไรในช่วงของวัน ผมเลยพยายามที่จะหลีกเลี่ยงออกไปข้างนอก และถ้าจะออกไป ก็จะออกไปในช่วงเช้า หรือช่วงเย็นๆ แทน เพราะกลางวันไม่ไหวครับ ร้อนสุดๆ

ที่ต้องมารู้ซึ่ง เพราะ ไม่กี่วันก่อนขับรถมาแถวสันป่าตองมาเที่ยววัดช่างกระดาษ ปรากฏว่าถึงวัดก็นั่งพักใต้ต้นมะขามอยู่หลายนาที เนื่องจากอย่างที่บอกไป แดดร้อนราวกับอยู่ในขุมนรก ขนาดนี่อยู่ในวัดนะ ฮ่าๆๆ

หลังจากนั่งพักเอาแรงซักหน่อย ได้ความร่มเย็นของต้นมะขาม ก็ได้เวลามาสำรวจและทำความรู้จักกันกับวัดช่างกระดาษกันครับ โดยวัดช่างกระดาษ ตั้งอยู่เลขที่ 78 หมู่ 1 ตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่  เดิมชื่อวัดศรีดอนแก้ว เป็นวัดร้างที่มีซากพระพุทธรูป กุฏิ และวิหาร ต่อมา ประมาณ พ.ศ. 2410  พระเต๋จ๊ะ  ได้มาปฏิสังขรณ์สร้างขึ้นใหม่  และเปลี่ยนชือ่วัดเป็น วัดช่างกระดาษ ตามชื่อของหมู่บ้าน

วัดช่างกระดาษ มีการพัฒนาการศึกษา โดยท่านพระครูสุตานนท์ พ.ศ. 471 เปิดสอนพระปริยัติธรรม และเป็นสถานที่สอบธรรมสนามหลวงประจำอำเภอติดต่อกันมาหลายปี ต่อมา พ.ศ. 2483 ได้สร้างอาคารเรียน 1 หลัง 2 ชั้น เพื่อเป้นสถานที่เล่าเรียน ของพระภิกษุสามเณร ปัจจุบันถูกรื้อถอนไปแล้ว พ.ศ. 2475 เปิดโรงเรียนประชาบาล ตำบลทุ่งต้อม 1 วัดช่างกระดาษ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้เข้ามาจัดการศึกษาตาม พรบ. ประถมศึกษา พ.ศ. 2464 ต่อมา พ.ศ. 2490 ได้ย้ายอาคารเรียนออกจากเขตวัด ซึ่งเป็นโรงเรียนปัจจุบัน เปลี่ยนชาอโรงเรียนใหม่เป็น โรงเรียนเตชาคณานุสรณ์

ส่วนสิ่งที่น่าสนใจนั้นประกอบด้วย  อุโบสถ  วิหาร  ศาลาบาตร และกุฏิสงฆ์  ปูชนียวัตถุ มีเจดีย์ และพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ซึ่งที่เด่นๆ หน่อยก็มีองค์เจดีย์ ลักษณะที่พบเฉพาะในล้านนา และเป็นแบบที่พบมากที่สุด โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นรูปทรงที่ช่างล้านนาได้สร้างสรรค์รูปทรงขึ้นจากการรับเอาอิทธิพลแบบอย่างจากวัฒนธรรมอื่นๆเช่น สุโขทัย พุกาม มาผสมผสานกันพัฒนาจนเป็นรูปทรงใหม่ที่ลงตัวและใช้กันแพร่หลายกัน สำหรับพระวิหารนั้น ตัวบันไดเป็นบันไดแบบมกรคายนาค ผนังด้านในวิหารมีจิตกรรมฝาผนังเรื่องราวของพุทธศาสนา ตัวอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการยกเก็จของผัง ลักษณะโครงสร้างของอาคาร เป็นการผสมผสานระหว่าง โครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน กับ โครงสร้างไม้ ส่วนเครื่องบนหรือหลังคา สร้างด้วยโครงสร้างไม้ในระบบเสาและคาน หลังคาเป็นทรงจั่วมีการซ้อนชั้นของหลังคาด้านหน้าสองชั้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือแป้นเกล็ด