หัวข้อ: ตะลอนเที่ยววัดเชียงใหม่ "วัดกลางทุ่ง" เริ่มหัวข้อโดย: konhuleg ที่ พฤษภาคม 14, 2015, 02:54:22 PM ก่อนเข้ามายังวัดกลางทุ่ง ต้องบอกเลยว่า ก่อนจะเอาชีวิตเข้ามายังที่นี่ได้ ต้องฝ่าด่านน้องหมา 10 กว่าตัวที่เห่าดังสนั่นไปสามบ้านครับ ซึ่งก็ดีนะครับ ที่มันเห่าเฉยๆ ไม่ได้มาถึงกับไล่กัดอะไร เพราถ้ามาไล่กัด มีหวังผมวิ่งจนป่าราบแน่นอน
สำหรับวัดกลางทุ่งที่กล่าวถึงนั้น ตั้งอยู่ หมู่ 2 ต.ทุ่งต้อม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ จากปากถนนสายสันป่าตอง ลำพูน เข้ามาประมาณ 1 กิโลเมตร ก็เป็นอันว่าถึง สิง่ที่หน้าสนใจนั้นก็มกันประมาณนี้ วิหารทรงล้านนา ที่ด้านหน้ามีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร (บางตำราเรียกว่าเป็นปางห้ามญาติ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบบตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าเสมอพระอุระ (อก) เป็นกิริยาห้าม บางแบบเป็นพระทรงเครื่อง มีลักษณะคล้ายกันกับปางห้ามพยาธิ โดยประวัตินั้น ในครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนายังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ของพระเจ้าพิมพิสาร ทรงขอประทับแรมอยู่ในสำนักของอุรุเวลกัสสปะ ผู้เป็นหัวหน้าชฎิล (ฤษี ผู้บูชาไฟ) ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนในแคว้นมคธ ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นานัปการเพื่อทรมาน ฤษีอุรุเวลกัสสปะให้คลายความพยศลง ในครั้งที่น้ำท่วม พระองค์ทรงทำปาฏิหาริย์ห้ามน้ำที่ไหลบ่ามาจากทุกสารทิศมิให้เข้ามาในที่ประทับ และเสด็จจงกรมภายในวงล้อมที่มีน้ำเป็นกำแพง พวกเหล่าชฎิลพายเรือมาดู เห็นเป็นอัศจรรย์ จึงยอมรับในอานุภาพของพระพุทธองค์ และขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทั้งนี้ความเชื่อและคตินิยม ปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนที่เกิดวันจันทร์ เขยิบกันเข้ามาด้านในซักหน่อย บันไดนาควิหาร เป็นลักษณะของมกรคายนาค ซึ่งมักจะพบมากในวัดทางภาคเหนือ ซึ่งถ้าใครไปวัดบ่อยจะสังเกตเห็นได้ตามบันไดของวิหาร สำหรับ ตัว "มกร" นี้เป็นสัตว์ที่อยู่ในจินตนาการครับ นัยว่า เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์เชิงเขาพระสุเมรุ ลักษณะจะผสมกันระหว่างจระเข้กับพญานาค กล่าวคือ มีลำตัวยาวเหยียดคล้ายกับพญานาค แต่มีขายื่นออกมาจากลำตัว และส่วนหัวที่คายพญานาค ออกมานั้นเป็นปากจระเข้ คนโบราณจึงมักนำไปเฝ้าอยู่ตามเชิงบันไดวัด ในความเป็นจริงแล้ว "มกร" มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีมาแต่โบราณว่า "เหรา" อ่านว่า เห-รา เป็นสัตว์ในจินตนาการ มีหน้าที่เฝ้าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ อาทิ พระธาตุ โบสถ์ วิหาร ที่สื่อว่าเป็นเขาพระสุเมรุ ตามคติจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ ดังนั้น จึงต้องมีสัตว์ในป่าหิมพานต์เฝ้าอยู่เชิงเขาพระสุเมรุ ไม่ให้คนขึ้นไปรบกวนทวยเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนสวรรค์ ส่วนคำว่า "มกร" นั้น เข้าใจว่าคงได้รับอิทธิพลมาจาก "มังกร" ของจีน เพราะเคยเห็นแต่พญานาคที่ไม่มีขา พอมาเห็นตัวที่มีหัวเป็นพญานาคหรือสำรอกพญานาค และมีขาด้วยก็เลยเรียกตามจีนไป สุดท้ายพระเจดีย์แบบล้านนานี้เป็นเจดีย์ทรงกลมเป็นฐานสูงสี่เหลี่ยมย่อเก็จ เน้นชั้นมาลัยเถาที่ขยายใหญ่ขึ้น ยกสูงขึ้น องค์ระฆังถูกลดความสำคัญลงจนเหลือขนาดเล็ก มีบัวรัดรอบองค์ระฆังตามแบบพุกาม บัลลังก์ย่อเหลี่ยม และบริเวณข้างๆ วิหารมีอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยประดิษฐานอยู่ |