จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2

ข้อมูล เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก => เที่ยวทั่วไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: konhuleg ที่ ธันวาคม 12, 2014, 10:25:08 AM



หัวข้อ: แก่งกระจาน - พะเนินทุ่ง : ทริปยุ่งๆ ของคนแว่นหาย! #4 (ตอนจบ)
เริ่มหัวข้อโดย: konhuleg ที่ ธันวาคม 12, 2014, 10:25:08 AM
พระอาทิตย์เริ่มฉายแสงแดดอุ่นๆ ในยามเช้า ตอนประมาณ 9 โมง ขาลงจากเขาทุ่งพะเนิน โชเฟอร์ทำเวลาได้ดีกันเลยทีเดียว โดยมีจุดหมายปลายทางต่อไปของพวกเราคือการไปชมผีเสื้อ และโป่งเทียมให้อาหารสัตว์

(http://upic.me/i/us/dscf0517.jpg) (http://upic.me/show/53887651)

30 นาทีเห็นจะได้ลงจากเขามาถึงแถวที่ทำการอุทยาน (ถ้าจำไม่ผิดนะ) ก็ได้เวลามาชมผีเสื้อกัน ผมพยายามตามเกาะกลุ่มเพื่อนๆ ไว้ว่าชาวบ้านจะพากันไปทางไหน (คือมองไม่เห็นไง) และไปดูผีเสื้อตรงไหนกัน ซึ่งพอเดินเตร็ดเตร่ไปมาแถวนั้นซักพักปรากฏว่า งานนี้ไม่มีผีเสื้อให้ดูนะฮะ อยากถ่ายรูปอะไรก็พากันถ่ายไป เดี๋ยวซักหน่อยเจ้าหน้าที่จะพาไปทำโป่งเทียมกันแล้ว

(http://upic.me/i/ic/dscf0519.jpg) (http://upic.me/show/53887652)

นั่งพักคุยกันกับชาวบ้านเล็กน้อย ทางชาวคณะเราก็ออกเดินทางตามเจ้าหน้าที่เพื่อไปทำโป่งเทียมให้อาหารสัตว์ ที่เขาได้จัดเตรียมไว้ให้ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตรงนี้กันมากนัก โดยพื้นที่บริเวณดังกล่าวจะเป็นแหล่งน้ำขนาดเล็กที่อยู่ในป่า

(http://upic.me/i/1o/dscf0525.jpg) (http://upic.me/show/53887653)

(http://upic.me/i/j9/dscf0526.jpg) (http://upic.me/show/53887654)

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าโป่งคืออะไร ก็อยากจะแทรกความรู้กันเข้าไปซักเล็กน้อยนะครับ ว่าโป่ง (Salt Lick) หมายถึง พื้นดินบริเวณที่มีแร่ธาตุสะสมแล้วมีสัตว์ป่ามากินจนเกิดเป็นแอ่ง โดยโป่งเป็นแหล่งอาหารที่จำเป็นของสัตว์กีบและสัตว์กินพืช เช่น ช้าง กระทิง วัวแดง เก้ง กวาง รวมทั้งนกหลายชนิด เพราะพืชที่สัตว์เหล่านี้กินเป็นอาหารให้สารอาหารไม่ครบถ้วน สัตว์ป่าจึงจำเป็นต้องได้รับแร่ธาตุเสริมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

โป่งส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่ค่อนข้างราบ ประมาณ 200-400 เมตร เหนือระดับ น้ำทะเล เนื่องจากแร่ธาตุหลายชนิด เช่น โซเดียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส กำมะถัน ถูกชะล้างจากดินในระดับสูงลงมาสะสมกันในพื้นดินบริเวณหนึ่ง ในธรรมชาติสัตว์ป่าที่เป็นตัวเปิดโป่ง มักจะเป็นสัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง หรือ กระทิง

(http://upic.me/i/zg/dscf0530.jpg) (http://upic.me/show/53887664)

ทั้งนี้ โป่งแบ่งได้เป็นสองชนิด ได้แก่ โป่งดินและโป่งน้ำ โป่งน้ำแตกต่างจากโป่งดิน ตรงที่เป็นบริเวณที่มีน้ำไหลซึมตลอดทั้งปี โป่งน้ำจะมีสัตว์มาใช้บ่อยและประจำมากกว่าโป่งดิน เพราะในช่วงฤดูร้อน โป่งดินจะแข้งมาก สัตว์ป่าไม่สามารถขุดเจาะเพื่อกินดินโป่งได้สะดวกนัก นอกจากนี้ บริเวณที่น้ำซับใต้ดินได้พัดผ่านเกลือแร่จากใต้เปลือกโลก ขึ้นมาสะสมจนเป็นแอ่งเป็นบ่อ ก็จัดอยู่ในประเภทโป่งน้ำเช่นกัน โดยมักเรียกกันว่า โป่งน้ำซับ และเมื่อแร่ธาตุในโป่งหมดลงหรือมีน้อย สัตว์ป่าอาจทิ้งโป่งเก่าเพื่อไปหากินยังโป่งใหม่ โป่งที่สัตว์ทิ้งและไม่ใช้ประโยชน์อีกเรียกว่าโป่งร้าง หากเกิดโป่งร้างขึ้นมาก ๆ โดยไม่มีโป่งใหม่ๆ เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่อาจสร้างโป่งเทียมในพื้นที่เพื่อเสริมแร่ธาตุให้กับสัตว์ป่า โดยมีการเติมเกลือลงในดินโป่งอยู่เสมอ

(http://upic.me/i/2y/dscf0528.jpg) (http://upic.me/show/53887657)

(http://upic.me/i/rb/dscf0532.jpg) (http://upic.me/show/53887666)

พวกเราใช้เวลาในการทำโป่งเทียมด้วยกันราวๆ 1 ชั่วโมง ด้วยความสนุกสนานและเฮฮากันไป สุดท้ายเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจก็ได้เวลาพากันเดินทางกลับเข้าที่พัก เพื่อรับประทานอาหารเที่ยง และเตรียมตัวกลับบ้านกัน

จากระยะเวลาทั้งหมดด้วยกัน 2 วัน 1 คืน ทริปครั้งนี้ถือว่าประทับใจและอบอุ่นกันสุดๆ เพราะผมได้มิตรภาพดีๆ จากเพื่อนใหม่ๆ ในทริปครั้งนี้เยอะมาก

และหากอุกกาบาตไม่พุ่งชนโลกจนระเบิด คราวหน้าถ้ามีโอกาส ผมก็ยังอยากไปอีกครั้งหนึ่งครับ