หัวข้อ: วัดฟ่อนสร้อย ชมความงามของวิหารสถาปัตยกรรมท้องถิ่น เริ่มหัวข้อโดย: lady darika ที่ มีนาคม 12, 2014, 11:59:26 PM วัดฟ่อนสร้อย ชมความงามของวิหารสถาปัตยกรรมท้องถิ่น
สมัยอบรมมัคคุเทศก์ที่สถาบันแห่งหนึ่งในกรุงเทพ มีโอกาสเดินทางมาเยี่ยมชมวัดวาอาราม และโบราณสถานต่างๆ ในภาคเหนือ แม้จะเคยมาเมืองเหนือแล้วหลายครั้ง แต่การมาเยี่ยมเยือนเชียงใหม่ครั้งนั้นพิเศษกว่าครั้งอื่น เพราะเราได้เรียนรู้เรื่องราวสถาปัตยกรรม และโบราณคดีของล้านนา ทำให้เวลาเที่ยวชมวัดวังต่างๆ ไม่ใช่แค่เดินดูอาคารสถานที่ แต่ทำให้เราเข้าใจความเป็นมาของวัดแห่งนั้นได้มากขึ้น (http://i.imgur.com/K6jzmKV.jpg) ที่เกริ่นมาแบบนี้ ก็เพราะการมาเยี่ยมเมืองเชียงใหม่ครั้งนั้น ทำให้เลดี้ ดาริกาสนใจสถาปัตยกรรมล้านนาเป็นพิเศษ ลักษณะอาคารหลังคาซ้อนชั้น และหลูบต่ำลงจนเกือบติดพื้น เป็นเอกลักษณ์ของล้านนา และสุโขทัยที่มองทีไรก็รู้สึกว่าคลาสสิก และใจสงบมากๆ วัดฟ่อนสร้อย พระอารามเล็กๆ ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ก็เป็นหนึ่งในวัดที่มีสถาปัตยกรรมลักษณะนี้ เกิดชอบใจเลยอยากเอามาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง (http://i.imgur.com/IibHdst.jpg) พระวิหารวัดฟ่อนสร้อย (http://i.imgur.com/VdkGh9b.jpg) วัดฟ่อนสร้อย ตั้งอยู่บนถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ใกล้กับตลาดประตูเชียงใหม่ เป็นวัดเล็กๆ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๓๑ นับถึงตอนนี้ก็อายุได้ ๕๒๖ ปีแล้ว เก่าแก่มากทีเดียว จากการศึกษาโครงนิราศหริภุญชัยโดยคุณวิจิตร ยอดสุวรรณ ทำให้ทราบว่าที่ตั้งของวัดฟ่อนสร้อยในปัจจุบันนี้ไม่ใช่ที่ตั้งดั้งเดิมในอดีต วัดฟ่อนสร้อยเดิมซึ่งร้างไปแล้วนั้นอยู่ห่างไปทางทิศใต้เล็กน้อย คำว่า ฟ่อนสร้อย สันนิษฐานว่ามาจากขุนนางที่มียศว่า พันสร้อย ต่อมาจึงเพี้ยนกลายเป็น ฟ่อนสร้อย (http://i.imgur.com/IRUNJ24.jpg) ลวดลายวิจิตรของวิหารหลวง (http://i.imgur.com/5uUZPOf.jpg) มุขทางเข้าด้านข้างพระวิหาร วิหารหลวงวัดฟ่อนสร้อย ถือเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนผสมไม้ หลังคาซ้อนชั้น และหลูบลงต่ำมากเกือบติดพื้นดิน เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของสถาปัตยกรรมไทยในอดีต โดยเฉพาะลักษณะสถาปัตยกรรมล้านนาและสุโขทัย บันไดทางขึ้นขนาบด้วยนาคสองตัว หน้าบันประดับด้วยลวดลายก้านกดปิดทองบนพื้นสีเขียว ละเอียดอ่อนช้อย สวยงามมาก ประตูวิหารแกะสลักจากไม้เป็นรูปเทวดา เปรียบเสมือนทวารบาลคอยอารักขาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สวยวิจิตรไม่แพ้กัน ด้านข้างพระวิหารมีมุขทางเข้าอีกทางหนึ่ง มีไว้สำหรับพระสงฆ์เข้าออกเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เราสามารถพบเห็นพระวิหารลักษณะนี้ได้มากมายในวัดต่างๆ ของเมืองเชียงใหม่ (http://i.imgur.com/LlbueF8.jpg) พระเจดีย์ประธานของวัด (http://i.imgur.com/gMMzknT.jpg) บรรยากาศของวัด ด้านหลังพระวิหารเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์ประธานของวัด ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนา มีสัดส่วนงดงามหมดจด องค์เจดีย์ทั้งสี่ด้านมีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปยืน เหนือขึ้นไปเป็นองค์ระฆังสีทองสุกใส ยอดพระเจดีย์ประดับด้วยฉัตรสีทอง บริเวณฐานพระเจดีย์มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปเช่นกัน มุมเจดีย์มีสิงห์ปูนปั้นแบบล้านนาตั้งอยู่ทั้งสี่ทิศ ฐานเจดีย์แต่ละชั้นประดับด้วยหม้อปูรณฆฏะ ตามคติล้านนาเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ (http://i.imgur.com/YLa5dQR.jpg) หอไตรของวัด (http://i.imgur.com/OcP5PMO.jpg) วัดฟ่อนสร้อยแม้จะเป็นวัดเล็ก แต่ก็น่าสนใจไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ ใครไปเที่ยวเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ เที่ยววัดใหญ่ๆ มาเยอะแล้ว ลองมาเที่ยวชมความงามของวัดเล็กๆ กันดูบ้าง วัดจะได้ไม่เหงาจนเกินไป เรื่องและภาพโดย เลดี้ ดาริกา 905 หัวข้อ: Re: วัดฟ่อนสร้อย ชมความงามของวิหารสถาปัตยกรรมท้องถิ่น เริ่มหัวข้อโดย: diamond ที่ กรกฎาคม 20, 2014, 02:44:58 PM วัดฟ่อนสร้อย ชมความงามของวิหารสถาปัตยกรรมท้องถิ่น สมัยอบรมมัคคุเทศก์ที่สถาบันแห่งหนึ่งในกรุงเทพ มีโอกาสเดินทางมาเยี่ยมชมวัดวาอาราม และโบราณสถานต่างๆ ในภาคเหนือ แม้จะเคยมาเมืองเหนือแล้วหลายครั้ง แต่การมาเยี่ยมเยือนเชียงใหม่ครั้งนั้นพิเศษกว่าครั้งอื่น เพราะเราได้เรียนรู้เรื่องราวสถาปัตยกรรม และโบราณคดีของล้านนา ทำให้เวลาเที่ยวชมวัดวังต่างๆ ไม่ใช่แค่เดินดูอาคารสถานที่ แต่ทำให้เราเข้าใจความเป็นมาของวัดแห่งนั้นได้มากขึ้น (http://i.imgur.com/K6jzmKV.jpg) ที่เกริ่นมาแบบนี้ ก็เพราะการมาเยี่ยมเมืองเชียงใหม่ครั้งนั้น ทำให้เลดี้ ดาริกาสนใจสถาปัตยกรรมล้านนาเป็นพิเศษ ลักษณะอาคารหลังคาซ้อนชั้น และหลูบต่ำลงจนเกือบติดพื้น เป็นเอกลักษณ์ของล้านนา และสุโขทัยที่มองทีไรก็รู้สึกว่าคลาสสิก และใจสงบมากๆ วัดฟ่อนสร้อย พระอารามเล็กๆ ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ก็เป็นหนึ่งในวัดที่มีสถาปัตยกรรมลักษณะนี้ เกิดชอบใจเลยอยากเอามาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง (http://i.imgur.com/IibHdst.jpg) พระวิหารวัดฟ่อนสร้อย (http://i.imgur.com/VdkGh9b.jpg) วัดฟ่อนสร้อย ตั้งอยู่บนถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ใกล้กับตลาดประตูเชียงใหม่ เป็นวัดเล็กๆ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๓๑ นับถึงตอนนี้ก็อายุได้ ๕๒๖ ปีแล้ว เก่าแก่มากทีเดียว จากการศึกษาโครงนิราศหริภุญชัยโดยคุณวิจิตร ยอดสุวรรณ ทำให้ทราบว่าที่ตั้งของวัดฟ่อนสร้อยในปัจจุบันนี้ไม่ใช่ที่ตั้งดั้งเดิมในอดีต วัดฟ่อนสร้อยเดิมซึ่งร้างไปแล้วนั้นอยู่ห่างไปทางทิศใต้เล็กน้อย คำว่า ฟ่อนสร้อย สันนิษฐานว่ามาจากขุนนางที่มียศว่า พันสร้อย ต่อมาจึงเพี้ยนกลายเป็น ฟ่อนสร้อย (http://i.imgur.com/IRUNJ24.jpg) ลวดลายวิจิตรของวิหารหลวง (http://i.imgur.com/5uUZPOf.jpg) มุขทางเข้าด้านข้างพระวิหาร วิหารหลวงวัดฟ่อนสร้อย ถือเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนผสมไม้ หลังคาซ้อนชั้น และหลูบลงต่ำมากเกือบติดพื้นดิน เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของสถาปัตยกรรมไทยในอดีต โดยเฉพาะลักษณะสถาปัตยกรรมล้านนาและสุโขทัย บันไดทางขึ้นขนาบด้วยนาคสองตัว หน้าบันประดับด้วยลวดลายก้านกดปิดทองบนพื้นสีเขียว ละเอียดอ่อนช้อย สวยงามมาก ประตูวิหารแกะสลักจากไม้เป็นรูปเทวดา เปรียบเสมือนทวารบาลคอยอารักขาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สวยวิจิตรไม่แพ้กัน ด้านข้างพระวิหารมีมุขทางเข้าอีกทางหนึ่ง มีไว้สำหรับพระสงฆ์เข้าออกเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เราสามารถพบเห็นพระวิหารลักษณะนี้ได้มากมายในวัดต่างๆ ของเมืองเชียงใหม่ (http://i.imgur.com/LlbueF8.jpg) พระเจดีย์ประธานของวัด (http://i.imgur.com/gMMzknT.jpg) บรรยากาศของวัด ด้านหลังพระวิหารเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์ประธานของวัด ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนา มีสัดส่วนงดงามหมดจด องค์เจดีย์ทั้งสี่ด้านมีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปยืน เหนือขึ้นไปเป็นองค์ระฆังสีทองสุกใส ยอดพระเจดีย์ประดับด้วยฉัตรสีทอง บริเวณฐานพระเจดีย์มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปเช่นกัน มุมเจดีย์มีสิงห์ปูนปั้นแบบล้านนาตั้งอยู่ทั้งสี่ทิศ ฐานเจดีย์แต่ละชั้นประดับด้วยหม้อปูรณฆฏะ ตามคติล้านนาเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ (http://i.imgur.com/YLa5dQR.jpg) หอไตรของวัด (http://i.imgur.com/OcP5PMO.jpg) วัดฟ่อนสร้อยแม้จะเป็นวัดเล็ก แต่ก็น่าสนใจไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ ใครไปเที่ยวเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ เที่ยววัดใหญ่ๆ มาเยอะแล้ว ลองมาเที่ยวชมความงามของวัดเล็กๆ กันดูบ้าง วัดจะได้ไม่เหงาจนเกินไป เรื่องและภาพโดย เลดี้ ดาริกา 905 :onio: :onio: :onio: |