จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2

เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ => วัดในจังหวัดเชียงใหม่ => ข้อความที่เริ่มโดย: lady darika ที่ กรกฎาคม 02, 2013, 02:46:27 AM



หัวข้อ: มุมมองใหม่วัดเชียงมั่น ปฐมอารามแห่งนครพิงค์เชียงใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: lady darika ที่ กรกฎาคม 02, 2013, 02:46:27 AM
มุมมองใหม่วัดเชียงมั่น ปฐมอารามแห่งนครพิงค์เชียงใหม่

ทุกวันนี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่า “เชียงใหม่” ของใครหลายคน ไม่ได้หมายรวมถึง “วัดเชียงมั่น” พระอารามแห่งแรกของนครเชียงใหม่ บรรยากาศรอบวัดทุกวันนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยี่ยมเยือนอยู่ไม่ขาดสาย แต่มีนักท่องเที่ยวชาวไทย หรือแม้แต่ชาวเชียงใหม่น้อยจนใจหาย ราวกับพระอารามแห่งนี้ถูกกาลเวลากลืนกิน ชื่อเสียงเรียงนามจึงค่อยๆ เลือนไปตามกาลเวลา จะมีคนเมืองรุ่นใหม่สักกี่คนที่รับรู้ถึงความสำคัญอย่างยิ่งยวดของพระอารามเก่าแก่อายุกว่า ๗๐๐ ปีแห่งนี้ ไม่มากไม่น้อยไปกว่าอายุอานามของเมืองเชียงใหม่เลย

ครั้งเมื่อพญามังรายตีได้เมืองลำพูน และย้ายศูนย์กลางการปกครองมาอยู่ที่เวียงกุมกามได้เพียง ๒ ปี พระองค์มีดำริสร้างเมืองหลวงใหม่ขึ้นแทนเวียงกุมกาม ซึ่งประสบอุทกภัยอยู่เนืองๆ “เชียงใหม่” คือเมืองแห่งใหม่บนแอ่งที่ราบเชิงดอยสุเทพ บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง หลังจากพญามังราย ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ล้านนา พร้อมด้วยพระสหายคือ พญางำเมือง และพญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) สร้างเมืองเชียงใหม่แล้วเสร็จ พระองค์ทรงโปรดให้สร้างวัดขึ้นบริเวณ “เวียงเหล็ก” พระราชวังของพระองค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และโปรดให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่งทับพื้นที่ “หอนอน” หรือ “พระราชมณเฑียร” ของพระองค์ พระราชทานนามพระอารามแห่งแรกนี้ว่า “วัดเชียงมั่น” หมายถึง “บ้านเมืองที่มั่นคง” เป็นเป็นสิริมงคลแก่เมือง

(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/1009914_632603633431053_1856545733_n.jpg)
พระประธานภายในวิหารหลวงวัดเชียงมั่น ด้านหลังมีกู่ก่อิฐถือปูนลวดลายสวยงาม

บนถนนราชภาคินัย ฝั่งประตูช้างเผือก ใกล้ๆ กับแจ่งศรีภูมิ ทิศอันเป็นมงคลตามหลักทักษา เป็นที่ตั้งของวัดเชียงมั่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัดแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ บรรยากาศในวัดมีต้นไม้ร่มรื่น ดอกลั่นทมส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ไปทั่ว อาคารหลังแรกที่เราพบเมื่อผ่านประตูหน้าวัดเข้ามาคือ “วิหารหลวง” สถาปัตยกรรมล้านนา หลังคาซ้อนเป็นชั้น ลดหลั่นกัน ชายคาใกล้พื้นดิน ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบล้านนา-สุโขทัย หน้าบรรณของพระวิหารเป็นลายพรรณพฤกษา โก่งคิ้วอ่อนช้อยมีลวดลายประดับงดงาม ภายในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย ด้านหลังมีกู่ลวดลายสวยงามประดิษฐานพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ผนังวิหารประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนังสีทองบนพื้นสีชาด บอกเล่าเรื่องราวการสร้างวัด และการสร้างเมืองเชียงใหม่

(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/1044335_632603446764405_694122130_n.jpg)
พระอุโบสถวัดเชียงมั่น สถาปัตยกรรมล้านนา หลังคาซ้อนกันเป็นชั้น ชายคาเตี้ย

(https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/998688_632603423431074_2123746124_n.jpg)
หน้าบรรณพระอุโบสถแบบม้าต่างใหม่ แสดงถึงลักษณะโครงสร้างหลังคาแบบสถาปัตยกรรมล้านนา

ใกล้กับกำแพงด้านตะวันตกมีพระอุโบสถไม้ ศิลปะล้านนาอ่อนช้อย สวยงาม หน้าบรรณพระอุโบสถเป็นแบบม้าต่างไหม แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างหลังคาอันมีเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมล้านนาดั้งเดิม ด้านหน้าอุโบสถมีศิลาจารึกอักษรฝักขามไทยวน บอกเล่าเรื่องราวของการสร้างเมืองเชียงใหม่ เรียกว่า “จารึกวัดเชียงมั่น” หรือ “จารึกหลักที่ ๗๖”

(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/969851_632603553431061_1500252306_n.jpg)
พระเจดีย์ทรงปราสาท ฐานมีช้างล้อม ๑๖ เชือก

ด้านหลังพระวิหาร เดิมสันนิษฐานว่าเป็นหอนอนของพญามังราย มีพระเจดีย์ทรงปราสาท บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ฐานเจดีย์มีช้างล้อม 16 เชือก เหนือเรือนธาตุเป็นเจดีย์ทรงกลมปิดทองจังโก อิทธิพลศิลปะสุโขทัย สันนิษฐานว่าดั้งเดิมพระเจดีย์องค์นี้เป็นทรงปราสาทห้ายอด (เจดีย์ห้ายอดเชียงยัน) ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเจดีย์ล้านนาในยุคแรก แต่ได้พังลงมาครั้งหนึ่ง และได้รับการบูรณะใหม่เป็นรูปทรงปัจจุบัน ใกล้ๆ กันนั้นมีหอไตรกลางน้ำ สถาปัตยกรรมล้านนา ใช้เก็บรักษาพระไตรปิฎก ปัจจุบันวิหารหลาง พระเจดีย์ อุโบสถ และหอไตรกลางน้ำ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติแล้ว

(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/1045249_632603636764386_1996386142_n.jpg)
กู่คำภายในวิหารจตุรมุข ประดิษฐานพระแก้วขาว และพระศิลา

พระแก้วขาว หรือพระเสตังคมณี เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่นับถือสืบต่อกันมา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักจากผลึกหินสีขาวขุ่น มีอายุกว่า ๑๘๐๐ ปี ตามตำนานกล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปฝีมือช่างเมืองละโว้ ที่พระนางจามเทวีอัญเชิญขึ้นมาด้วย ครั้งเมื่อพระนางมาครองเมืองลำพูนหริภุญไชย พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ พระศิลาปางปราบช้างนาฬาคีรี เป็นพระพุทธรูปแกะสลักบนหินสีดำ สกุลช่างปาละ จากอินเดีย อายุกว่า ๒๕๐๐ ปี พระพุทธรูปสำคัญทั้งสององค์นี้ประดิษฐานอยู่ในกู่ภายในวิหารจตุรมุข

หากใครมีโอกาสมาเยือนเมืองเชียงใหม่ นอกจากดอยสุเทพ วัดพระสิงห์ และวัดเจดีย์หลวงแล้ว อย่าลืมแวะไปเยี่ยมชมวัดเชียงมั่น พระอารามคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่แห่งนี้กันบ้าง แล้วคุณจะได้สัมผัสลึกถึงอดีตอันรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา บนจุดกำเนิดนครเชียงใหม่กันเลยทีเดียว

เรื่องโดย เลดี้ ดาริกา
ภาพโดย Darkslayer

 917


หัวข้อ: Re: มุมมองใหม่วัดเชียงมั่น ปฐมอารามแห่งนครพิงค์เชียงใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: auto ที่ กรกฎาคม 02, 2013, 10:39:20 AM
เชียงใหม่ ยังมีสถานที่น่าไปเยือน เช่น วัดวาอาราม อยู่อีกเยอะมาก
ขอบคุณที่นำมาแบ่งปัน ครับ  :onio:


หัวข้อ: Re: มุมมองใหม่วัดเชียงมั่น ปฐมอารามแห่งนครพิงค์เชียงใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: kurova ที่ กรกฎาคม 02, 2013, 03:42:52 PM
เป็นอีกวัดหนึ่งที่ต้องแนะนำให้นักท่องเที่ยวทุก ๆ ท่านถ้ามาเชียงใหม่แล้วต้องไปชม นะคะ
 901


หัวข้อ: Re: มุมมองใหม่วัดเชียงมั่น ปฐมอารามแห่งนครพิงค์เชียงใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: natchumon ที่ กรกฎาคม 02, 2013, 04:36:05 PM
สวยมากจริงๆค่ะ เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีวัดสวยๆเยอะมากค่ะ  :16: :16: :16:


หัวข้อ: Re: มุมมองใหม่วัดเชียงมั่น ปฐมอารามแห่งนครพิงค์เชียงใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: touring ที่ มิถุนายน 16, 2014, 10:14:09 AM
มุมมองใหม่วัดเชียงมั่น ปฐมอารามแห่งนครพิงค์เชียงใหม่

ทุกวันนี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่า “เชียงใหม่” ของใครหลายคน ไม่ได้หมายรวมถึง “วัดเชียงมั่น” พระอารามแห่งแรกของนครเชียงใหม่ บรรยากาศรอบวัดทุกวันนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยี่ยมเยือนอยู่ไม่ขาดสาย แต่มีนักท่องเที่ยวชาวไทย หรือแม้แต่ชาวเชียงใหม่น้อยจนใจหาย ราวกับพระอารามแห่งนี้ถูกกาลเวลากลืนกิน ชื่อเสียงเรียงนามจึงค่อยๆ เลือนไปตามกาลเวลา จะมีคนเมืองรุ่นใหม่สักกี่คนที่รับรู้ถึงความสำคัญอย่างยิ่งยวดของพระอารามเก่าแก่อายุกว่า ๗๐๐ ปีแห่งนี้ ไม่มากไม่น้อยไปกว่าอายุอานามของเมืองเชียงใหม่เลย

ครั้งเมื่อพญามังรายตีได้เมืองลำพูน และย้ายศูนย์กลางการปกครองมาอยู่ที่เวียงกุมกามได้เพียง ๒ ปี พระองค์มีดำริสร้างเมืองหลวงใหม่ขึ้นแทนเวียงกุมกาม ซึ่งประสบอุทกภัยอยู่เนืองๆ “เชียงใหม่” คือเมืองแห่งใหม่บนแอ่งที่ราบเชิงดอยสุเทพ บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง หลังจากพญามังราย ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ล้านนา พร้อมด้วยพระสหายคือ พญางำเมือง และพญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) สร้างเมืองเชียงใหม่แล้วเสร็จ พระองค์ทรงโปรดให้สร้างวัดขึ้นบริเวณ “เวียงเหล็ก” พระราชวังของพระองค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และโปรดให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่งทับพื้นที่ “หอนอน” หรือ “พระราชมณเฑียร” ของพระองค์ พระราชทานนามพระอารามแห่งแรกนี้ว่า “วัดเชียงมั่น” หมายถึง “บ้านเมืองที่มั่นคง” เป็นเป็นสิริมงคลแก่เมือง

(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/1009914_632603633431053_1856545733_n.jpg)
พระประธานภายในวิหารหลวงวัดเชียงมั่น ด้านหลังมีกู่ก่อิฐถือปูนลวดลายสวยงาม

บนถนนราชภาคินัย ฝั่งประตูช้างเผือก ใกล้ๆ กับแจ่งศรีภูมิ ทิศอันเป็นมงคลตามหลักทักษา เป็นที่ตั้งของวัดเชียงมั่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัดแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ บรรยากาศในวัดมีต้นไม้ร่มรื่น ดอกลั่นทมส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ไปทั่ว อาคารหลังแรกที่เราพบเมื่อผ่านประตูหน้าวัดเข้ามาคือ “วิหารหลวง” สถาปัตยกรรมล้านนา หลังคาซ้อนเป็นชั้น ลดหลั่นกัน ชายคาใกล้พื้นดิน ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบล้านนา-สุโขทัย หน้าบรรณของพระวิหารเป็นลายพรรณพฤกษา โก่งคิ้วอ่อนช้อยมีลวดลายประดับงดงาม ภายในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย ด้านหลังมีกู่ลวดลายสวยงามประดิษฐานพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ผนังวิหารประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนังสีทองบนพื้นสีชาด บอกเล่าเรื่องราวการสร้างวัด และการสร้างเมืองเชียงใหม่

(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/1044335_632603446764405_694122130_n.jpg)
พระอุโบสถวัดเชียงมั่น สถาปัตยกรรมล้านนา หลังคาซ้อนกันเป็นชั้น ชายคาเตี้ย

(https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/998688_632603423431074_2123746124_n.jpg)
หน้าบรรณพระอุโบสถแบบม้าต่างใหม่ แสดงถึงลักษณะโครงสร้างหลังคาแบบสถาปัตยกรรมล้านนา

ใกล้กับกำแพงด้านตะวันตกมีพระอุโบสถไม้ ศิลปะล้านนาอ่อนช้อย สวยงาม หน้าบรรณพระอุโบสถเป็นแบบม้าต่างไหม แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างหลังคาอันมีเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมล้านนาดั้งเดิม ด้านหน้าอุโบสถมีศิลาจารึกอักษรฝักขามไทยวน บอกเล่าเรื่องราวของการสร้างเมืองเชียงใหม่ เรียกว่า “จารึกวัดเชียงมั่น” หรือ “จารึกหลักที่ ๗๖”

(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/969851_632603553431061_1500252306_n.jpg)
พระเจดีย์ทรงปราสาท ฐานมีช้างล้อม ๑๖ เชือก

ด้านหลังพระวิหาร เดิมสันนิษฐานว่าเป็นหอนอนของพญามังราย มีพระเจดีย์ทรงปราสาท บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ฐานเจดีย์มีช้างล้อม 16 เชือก เหนือเรือนธาตุเป็นเจดีย์ทรงกลมปิดทองจังโก อิทธิพลศิลปะสุโขทัย สันนิษฐานว่าดั้งเดิมพระเจดีย์องค์นี้เป็นทรงปราสาทห้ายอด (เจดีย์ห้ายอดเชียงยัน) ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเจดีย์ล้านนาในยุคแรก แต่ได้พังลงมาครั้งหนึ่ง และได้รับการบูรณะใหม่เป็นรูปทรงปัจจุบัน ใกล้ๆ กันนั้นมีหอไตรกลางน้ำ สถาปัตยกรรมล้านนา ใช้เก็บรักษาพระไตรปิฎก ปัจจุบันวิหารหลาง พระเจดีย์ อุโบสถ และหอไตรกลางน้ำ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติแล้ว

(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/1045249_632603636764386_1996386142_n.jpg)
กู่คำภายในวิหารจตุรมุข ประดิษฐานพระแก้วขาว และพระศิลา

พระแก้วขาว หรือพระเสตังคมณี เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่นับถือสืบต่อกันมา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักจากผลึกหินสีขาวขุ่น มีอายุกว่า ๑๘๐๐ ปี ตามตำนานกล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปฝีมือช่างเมืองละโว้ ที่พระนางจามเทวีอัญเชิญขึ้นมาด้วย ครั้งเมื่อพระนางมาครองเมืองลำพูนหริภุญไชย พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ พระศิลาปางปราบช้างนาฬาคีรี เป็นพระพุทธรูปแกะสลักบนหินสีดำ สกุลช่างปาละ จากอินเดีย อายุกว่า ๒๕๐๐ ปี พระพุทธรูปสำคัญทั้งสององค์นี้ประดิษฐานอยู่ในกู่ภายในวิหารจตุรมุข

หากใครมีโอกาสมาเยือนเมืองเชียงใหม่ นอกจากดอยสุเทพ วัดพระสิงห์ และวัดเจดีย์หลวงแล้ว อย่าลืมแวะไปเยี่ยมชมวัดเชียงมั่น พระอารามคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่แห่งนี้กันบ้าง แล้วคุณจะได้สัมผัสลึกถึงอดีตอันรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา บนจุดกำเนิดนครเชียงใหม่กันเลยทีเดียว

เรื่องโดย เลดี้ ดาริกา
ภาพโดย Darkslayer

 917

 :onio: :onio: :onio: