จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2

ข้อมูล เที่ยวลำปาง และ ที่พักลำปาง => ทริปข้อมูล รูปภาพลำปาง => ข้อความที่เริ่มโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 12:58:10 PM



หัวข้อ: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 12:58:10 PM
ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า “กาดหมั้วคัวแลง” เริ่มวันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2553 นี้    หน้าวัดประตูต้นผึ้ง เขตเวียงเก่า ใกล้วัดพระแก้วลำปาง

          นายกิตติภูมิ  นามวงค์ รองนายกเทศมนตรีนครลำปาง  เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการถนนสายวัฒนธรรม เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา เพื่อหาแนวทางการดำเนินงาน “กาดหมั้วคัวงาย” สืบสานวัฒนธรรมเมืองเก่า ทุกวันอาทิตย์ เวลา 07.00-12.00 น. บริเวณถนนสายวัฒนธรรม ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม 2552  นับถึงตอนนี้ครบ 1 ปีแล้ว


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 01:00:03 PM
     เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของงาน  ที่ประชุมจึงมีมติให้เพิ่มวัน เวลา การจัดกิจกรรม “กาดหมั้วคัวแลง” สืบสานวิถีเมืองเก่า ทุกเย็นวันศุกร์  ตั้งแต่เวลา 16.00 น. - 21.00 น. และกิจกรรม  “กาดนัดพระเครื่อง” ทุกเช้าวันเสาร์ และวันอาทิตย์  ตั้งแต่เวลา 07.00-12.00 น. โดยจะเริ่มกิจกรรมดังกล่าวครั้งแรกในวันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2553  บริเวณถนนสายวัฒนธรรม อำเภอเมืองลำปาง  จังหวัดลำปาง สำหรับงานสืบสานวัฒนธรรมเมืองเก่า เทศบาลนครลำปาง และชุมชนในเขตเทศบาลนครลำปางได้ร่วมกันจัดขึ้น เพื่ออนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมพื้นเมืองทางภาคเหนือ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 01:00:57 PM
     จึงขอเชิญชวนประชาชน นำพืชผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  สินค้าประเภทเสื้อผ้าร่วมสมัย มาจัดจำหน่าย โดยเทศบาลฯ ไม่เก็บค่าเช่าที่ขายของแต่อย่างใด  แต่ขอความร่วมมือช่วยกันรักษาความสะอาด เก็บขยะใส่ถุงดำให้เรียบร้อย ผู้สนใจสามารถยื่นคำร้อง หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานธุรการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครลำปาง โทร. 054-237237 ต่อ 5206,5212 หรือติดต่อคุณนิพนธ์  แก้วหล้า มือถือ 089-9997526  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 01:13:21 PM
แผนที่เขตเวียงเก่า ลำปาง


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 01:24:51 PM
ปล.

เขตเวียงเก่าลำปาง ยังคงรักษาประเพณี เอกลักษณ์ วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ไว้ไม่เปลี่ยนแปลงมาก

เมืองนี้มีอายุ 1,300 ปี แล้วค่ะ


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 01:35:57 PM
ตัวเวียง วัด และสถานที่สำคัญ ถูกทิ้งร้างไว้นานหลายร้อยปี ตอนนี้ทางจังหวัดได้ทำการบูรณะซ่อมแซม ให้กลับมาสวยงามดังเดิม

ศิลปะ วัดวา อาราม เป็นยุคเชียงแสน ถึงเชียงใหม่ ...............


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 02:15:16 PM
ซุ้มประตูโขง เขตเมืองเขลางค์นครเก่า ดูขลังดี


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 02:19:57 PM
เสาหลักเมืองเสาแรกของเขลางค์นคร หรือจังหวัดลำปาง บริเวณวัดปงสนุก


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 02:21:15 PM
วัดปงสนุก” แห่งเขลางค์นคร ธรรมสถานหนึ่งเดียวของไทย ที่พึ่งได้รับรางวัล “Award of Merit” จาก UNESCO ในปี 2008 เผยเส้นทางการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม-สถาปัตยกรรมเก่าแก่ ที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศ จากชุมชน-รัฐ


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 02:24:09 PM
      วัดปงสนุก หรือวัดปงสนุกเหนือ ตั้งอยู่ในเขต ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง เป็นวัดสำคัญคู่กับจังหวัดลำปางมาช้านาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยที่เจ้าอนันตยศ ราชบุตรของพระนางจามเทวีแห่งหริภุญไชย (ลำพูน) เสด็จมาสร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) เมื่อ พ.ศ.1223 หรือ 1,328 ปีก่อน ซึ่งเมื่อวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา พระครูโสภิตขันตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดปงสนุกด้านเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง พึ่งรับมอบรางวัลดี (Award of Merit) ด้านการอนุรักษ์มรดกทางด้านวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ตามโครงการ 2008 Asia-Pacific Heritage Award for Cultural Heritage Conservation จากองค์การ UNESCO โดยมีดร.ริชาร์ด อิงเกิลฮาร์ท” ที่ปรึกษาอาวุโสในผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ด้านวัฒนธรรมประจำองค์การยูเนสโก เป็นผู้ถวายรางวัล


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 02:28:25 PM
วัดปงสนุก มีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อ ได้แก่ วัดศรีจอมไคล วัดเชียงภูมิ วัดพะเยา ตามลำดับ ส่วนคำว่า "วัดปงสนุก" นั้นใช้เมื่อยุค เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ที่มีการกวาดต้อนผู้คนจากเชียงแสน สันนิษฐานว่า เป็นกลุ่มคนจากบ้านปงสนุกที่เชียงแสน(ปัจจุบันยังปรากฏ หลักฐานวัดปงสนุกอยู่ที่ริมแม่น้ำโขง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย)

วัดปง สนุกได้รับการสันนิษฐานว่า เคยเป็นศูนย์กลางเมืองนคร(หรือเวียงละกอน) สมัยล้านนารุ่งเรือง และมีบทบาทสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ เช่น การดำน้ำชิงเมือง ระหว่างเจ้าฟ้าชายแก้ว และท้าวลิ้นก่าน

และในยุค รัตนโกสินทร์ที่แห่งนี้ยังเคยเป็นที่ตั้งของ เสาหลักเมืองหลักแรกของเมืองนครลำปาง ก่อนจะทำการย้ายไปรวมกับเสาหลักเมือง หลักอื่นที่ ศาลหลักเมืองในปัจจุบัน

งานศิลปสถาปัตยกรรมที่สำคัญ อันปรากฏอยู่ที่วัดนี้ได้แก่ พระธาตุศรีจอมไคล และ วิหารพระเจ้าพันองค์ ซึ่งในอาคารหลัง จะได้รับการบูรณะอย่างถูกหลักวิชาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านปงสนุก ซึ่งดำเนินการเตรียมการมาเป็นปีๆ


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 02:30:26 PM
วิหารหลังมียอด หรือวิหารพระเจ้าพันองค์ หรือวิหาร 12 ราศี หรือวิหารสะเดาะเคราะห์

และ เสาหงส์


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 02:38:18 PM
 ด้านนายอนุกูล ศิริพันธุ์ สมาชิกเทศบาลนครลำปางและประธานชุมชนบ้านปงสนุกเหนือ เล่า ถึงแรงบันดาลใจของชุมชนที่ต้องออกมาบูรณะเจดีย์และวิหารพระเจ้าพันองค์ ว่า เนื่องจากพระเจดีย์ มีอายุเก่าแก่เท่าๆกับดอยสุเทพ ที่จังหวัดเชียงใหม่ คือกว่า 500 ปี วิหารพระเจ้าพันองค์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ที่รวบรวมไว้ทั้งงานด้านจิตรกรรม สถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างไทย จีน พม่า ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวของประเทศก็ว่าได้ เริ่มทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ประกอบกับช่วงปี พ.ศ.2548 มีนักท่องเที่ยวทั้งต่างชาติ คนไทย และกลุ่มนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้ามาค้นคว้าหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของวัดจำนวนมาก ทำให้ทางวัดปงสนุกได้ตัดสินใจส่งเรื่องให้กรมศิลปากรพิจารณา เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมวิหารพระเจ้าพันองค์ ซึ่งก็ได้รับความอนุเคราะห์จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ
       
       โดยตลอดเวลา 4 ปี ที่ได้ร่วมกันบูรณะ ทางชุมชนฯได้ใช้กิจกรรมด้านศาสนา เป็นตัวชูโรง เพื่อให้ได้ทั้งพลังชุมชนและปัจจัยที่ได้มาในการบูรณะดังกล่าว จนส่งผลให้เกิดกระแสการตื่นตัวในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมในลำปางขึ้น อย่างกว้างขวางจนถึงขณะนี้


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 02:40:39 PM
       ปัจจุบัน “วัดปงสนุก” ได้กลายเป็นแหล่งรวมของสิ่งสำคัญหลายอย่างที่ทรงคุณค่าทางด้านศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม มากมาย อาทิ พระพุทธรูปไม้ เสาหงส์ ซุ้มประตูโขง ภาพพระบฎ เขียนเรื่องพระเวนสันดรบนผ้าและกระดาษสา หีบธรรมโบราณ และธงช้างเผือกขนาดใหญ่ในสมัยรัชกาลที่6 ซึ่งทางวัดได้นำมารวมไว้เป็นพิพิธภัณฑ์
       
       
       นอกจากนี้ยังมีเจดีย์วิหารพระนอน วิหารพระเจ้าพันองค์ วิหารโถงทรงจัตุรมุขที่มีรูปแบบงดงาม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมระหว่าง ลานนาไทย พม่า และจีน ที่ยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวของไทย ที่อาคารหลายแห่งในประเทศ เช่น หอคำไร่แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ได้นำไปเป็นแม่แบบในการก่อสร้างในปัจจุบัน
       
       ส่วนจุดเด่นของการได้รับรางวัล ด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จากยูเนสโก ในครั้งนี้นั้นนายอนุกุล กล่าวว่า น่าจะเป็นเพราะรูปแบบของการบูรณะของทางวัดด้วย เพราะทางกรมศิลปากร ได้ใช้วัถตุเดิมเกือบ 100% ในการซ่อมแซม จะมีการเพิ่มเติมสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ไปบ้างบางส่วนที่ไม่กระทบกับองค์ประกอบ หลัก เช่น การใช้น้ำยากันปลวกอย่างดี การทำชั้นรองกระเบื้อง เพื่อไม่ให้น้ำฝนไหลย้อนกลับและซึมลงมา เป็นต้น
       
       เมื่อดูแล้วจะเห็นได้ว่า เป็นการรักษาของเดิมไว้อย่าง สมบูรณ์ ทำให้“โครงการอนุรักษ์มรดกทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรมวิหารพระเจ้าพันองค์” วัดปงสนุกด้านเหนือ ได้รับคัดเลือกจาก 45 โครงการ ใน 13 ประเทศ ให้ได้รับรางวัล Award of Merit จากโครงการ 2008 Asia-Pacific Heritage Award for Cultural Heritage Conservation จากองค์การ UNESCO
       
       รางวัลดังกล่าวนับว่าเป็นความภูมิใจอย่างยิ่ง ไม่เพียงเฉพาะแต่ชุมชนปงสนุก ชาวลำปาง หากแต่เป็นความภูมิใจของคนไทยทั่วประเทศ ที่จะร่วมกันอนุรักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรม แห่งนี้ให้อยู่คู่กับประเทศไทยสืบไป
       
       สำหรับแนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถานแห่งนี้ ในอนาคตนั้นนายอนุกูล บอกว่า ต่อไปก็จะเริ่มดำเนินการบูรณะ ซุ้มประตูโขงและบริเวณโดยรอบก่อน เพราะขณะนี้ทรุดโทรมมากเกรงว่าหากปล่อยไว้จะทำให้รายละเอียดต่างๆหายไป และจะยากในการซ่อมแซมให้เหมือนดังเดิมได้


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 02:42:13 PM
ซุ้มประตูโขง


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 02:44:47 PM
ที่มาจาก

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9510000136421


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ ตุลาคม 20, 2010, 02:52:08 PM
         วัดปงสนุกเหนือ ตั้งอยู่เลขที่ 478 ถนนปงสนุก ต.เวียงเหนือ อ.เมืองลำปาง จากศาลากลางจังหวัดข้ามแม่น้ำวังที่สะพานรัษฎาเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนปงสนุก ตรงไปสัก 500 เมตร วัดจะอยู่ด้านขวามือ ชาวบ้านชุมชนปงสนุกพร้อมที่จะนำท่านเที่ยวชมและอธิบายให้ทราบถึงประวัติของ วัด และโบราณวัตถุในวัดให้ทุกท่านที่ไปเยี่ยมเยือนได้รับทราบความเป็นมาครับ
 
          ปัจจุบันวัด ปงสนุก แยกเป็น 2 วัด ทั้งที่อาณาเขตก็ไม่กว้างขวางเท่าใด คือ วัดปงสนุกเหนือ และวัดปงสนุกใต้ สาเหตุที่แยกเนื่องมาจากพระสงฆ์ สามเณร ในอดีต มีจำนวนมาก จึงแบ่งกันช่วยดูแลรักษาวัด แต่ถึงอย่างไรทั้งสองวัดก็นับถือกันว่าเป็นวัดพี่วัดน้องอาศัยช่วยเหลือกัน มาโดยตลอด
 
 
          วัดปงสนุกในอดีตถือว่าเป็นวัดที่มีสำคัญและมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับ เมืองลำปาง อาทิ เป็นสถานที่ดำน้ำชิงเมืองบริเวณหน้าวัดระหว่างเจ้าฟ้าชายแก้วและเจ้าลิ้น ก่าน ราวปี พ.ศ. 2302 และยังเป็นสถานที่ฝังเสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง หลักแรก เมื่อ พ.ศ. 2400 สมัยเจ้าหลวงเจ้าวรญาณรังษีราชธรรม เสาหลักเมืองดังกล่าว ถูกย้ายไปฝังไว้ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองในปัจจุบัน
 
 
          สิ่งที่แปลกแตกต่างไปจากวัดทั่วๆ ไป ของวัดปงสนุก คือ ม่อนดอย เนินเขาพระสุเมรุจำลอง อันเป็นที่ตั้งของวิหารพระเจ้าพันองค์ สร้างด้วยไม้ในลักษณะมณฑปหลังคาซ้อนสามชั้น บนสันหลังคาเหนือมุขทั้งสี่สร้างปราสาทไม้จำลองขนาดเล็กหุ้มด้วยสังกะสีฉลุ ลาย สื่อความหมายถึงทวีปทั้งสี่รอบเขาพระสุเมรุ ลักษณะตัวอาคารผสมผสานระหว่างศิลปกรรมล้านนา พม่าและจีน หลงเหลือเพียงอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย ห้องกลางวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสี่องค์หันพระพักตร์ออกสี่ทิศประทับนั่ง ใต้โพธิ์พฤกษ์ทำด้วยตะกั่ว
 
 
          ด้านล่างของฐานชุกชีประดับลวดลายรูปช้าง นาค สิงห์ นกอินทรี มีความเชื่อสืบกันมาว่า วิหารหลังนี้สร้างโดยช่างเชียงแสน เลียนแบบหอคำเมืองเชียงเกี๋ยงในสิบสองปันนาประเทศจีน ซึ่งไม่หลงเหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน ด้วยความงดงามของวิหารแห่งนี้ทำให้กลายเป็นแรงบันดาลในการสร้างสถาปัตยกรรม ในสมัยหลัง อาทิ หอคำ ไร่แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย และวิหารสี่ครูบา วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่
 
 
          ราวปี 2548 ที่ผ่านมา ทางชุมชนปงสนุกร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและโบราณคดี และนักวิชาการท้องถิ่น ได้หารือและร่วมกันก่อตั้งโครงการบูรณะวิหารพระจ้าพันองค์ขึ้น หลังจากนั้นทางวัดและชุมชนจึงตื่นตัวในการอนุรักษ์และรักษามรดกท้องถิ่น เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ห้องแสดงศิลปวัตถุ วัดปงสนุก ได้รับการจัดตั้งด้านข้างวิหารพระเจ้าพันองค์ เป็นศาลาชั้นเดียวขนานไปกับกำแพงบนม่อนดอย จัดแสดงโบราณวัตถุดั้งเดิมของวัดราว 4-5 ชิ้น ได้แก่ อาสนา สัตตภัณฑ์ ขันดอก แผงพระไม้


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: สาวเจียงใหม่ ที่ ตุลาคม 21, 2010, 06:06:48 PM
ถ้ามีโอกาส จะไปนะคะ


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: Focus ที่ ตุลาคม 22, 2010, 09:09:26 AM
บันไดทางขึ้นคล้าย ๆ วัดพระธาตุลำปางหลวงเลย  905


หัวข้อ: Re: ร่วมสืบสานวิถึเมืองเก่า กาดหมั้วคัวแลง เริ่มศุกร์ 5 พ.ย.53 หน้าวัดประตูต้นผึ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: natchumon ที่ ตุลาคม 22, 2010, 10:34:27 AM
น่าสนใจ :16: :16: