หัวข้อ: ประเพณีการทำบุญสลากภัตต์ เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ กันยายน 04, 2009, 09:37:32 AM ประเพณีการทำบุญสลากภัตต์
การทำบุญนี้เดิมชาวบ้านเรียกว่า "กิ๋นสะลากฮากไม้" ปัจจุบันเรียก "ทานสลาก" หรือ "ทำบุญสลาก" ทำขึ้นที่วัดเชียงมั่น ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เหนือ วัดเจดีย์หลวง ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 12 เหนือ และวัดพระสิงห์ ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 12 เหนือ สมัยก่อนไม่มีการเลี้ยงข้าวปลาอาหารเช่นปัจจุบัน คือ เมื่อพระสงฆ์หรือสามเณรจับสลากมากน้อยเพียงใด ก็ขบฉันเฉพาะอาหาร เท่าที่บอกในสลากเท่านั้น การจับสลากภัตต์มี 2 วิธี คือ จับเส้นและจับเบอร์ การจับเส้นเป็นวิธีเก่า คือเขียนข้อความการทำบุญสลากและชื่อผู้ศรัทธา ลงในแผ่นกระดาษแข็ง ใบตาล ใบลาน หรือวัตถุอื่นใดเท่ากับจำนวนของไทยทาน เป็นการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับและเพื่อเป็นบุญกุศลต่อตนเอง โดยการนำไปกองรวมกันในโบสถ์หรือวิหารที่จัดไว้ แล้วให้พระเณรมาจับตามจำนวนที่กำหนด ส่วนสลากที่เหลือก็ถวายแก่พระพุทธ จากนั้นชาวบ้านจึงถวายของตามชื่อเส้นของตน หลังจากพระให้ศีลให้พรแล้ว จึงรับเส้นของตนไปเผา พร้อมทั้งตรวจน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย เป็นอันเสร็จพิธี ส่วนวิธีจับเบอร์นั้น เป็นที่นิยมกันมากกว่าวิธีจับเส้น มีวิธีการคือ ทำเบอร์ของไทยทานเท่ากับจำนวนพระเณร แล้วมีวิธีจับเช่นเดียวกับการจับเส้น หัวข้อ: Re: ประเพณีการทำบุญสลากภัตต์ เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ กันยายน 04, 2009, 09:39:38 AM กิ๋นสะลากฮากไม้" ปัจจุบันเรียก "ทานสลาก" หรือ "ทำบุญสลาก" ทำขึ้นที่
วัดเชียงมั่น ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เหนือ ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 กันยายน 2552 หัวข้อ: Re: ประเพณีการทำบุญสลากภัตต์ เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ กันยายน 04, 2009, 09:41:11 AM "กิ๋นสะลากฮากไม้" ปัจจุบันเรียก "ทานสลาก" หรือ "ทำบุญสลาก" ทำขึ้นที่
วัดเจดีย์หลวง ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 12 เหนือ และวัดพระสิงห์ ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 12 |