หัวข้อ: วันเพ็ญ เดือน 12 เหนือ วันปล่อยผีล้านนา (ประเวณีปล่อยผีปล่อยเปรต ) เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ กันยายน 04, 2009, 08:51:27 AM วันเพ็ญ เดือน 12 เหนือ วันปล่อยผีล้านนา (ประเวณีปล่อยผีปล่อยเปรต )
ปีนี้ตรงกับ วันศุกร์ ที่ 4 กันยายน 2552 บางที่ก็จัดพร้อมกันกับ ตานสลาก ประเพณีอุทิศหาผู้ตาย บางทีเรียกว่า ประเพณีเดือน 12 เพ็ง ประชาชนในล้านนาไทยนิยมทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษของตน คือ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีนี้เรียกกันในแต่ละท้องถิ่นก็มีชื่อแตกต่างกันไป บางจังหวัดในล้านนาเรียกประเพณีอุทิศะหาผีตายบ้าง เรียกประเวณีเดือนสิบสองบ้าง เรียกประเวณีปล่อยผีปล่อยเปรต หัวข้อ: Re: วันเพ็ญ เดือน 12 เหนือ วันปล่อยผีล้านนา (ประเวณีปล่อยผีปล่อยเปรต ) เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ กันยายน 04, 2009, 08:54:27 AM ตรงกับของภาคกลางว่า “ตรุษสารท” ปักษ์ใต้เรียกว่า ประเพณีเดือนสิบชิงเปรต และทางภาคอีสานก็คือ ประเพณีบุญข้าวประดับดิน ประเพณีที่กล่าวมานี้โดยความหมายและจุดประสงค์เป็นอันเดียวกัน ต่างกันด้วยวิธีการทำตามจารีตประเพณีที่เคยทำมาในท้องถิ่นของตน
ประเพณีตรุษสารทของภาคกลาง เป็นประเพณีที่คนไทยภาคกลางปฏิบัติกันมานานแล้ว ตามตำนานว่าได้รับลัทธินี้มาจากพราหมณ์และพุทธรวมกัน ตามคติพราหมณ์ถือว่า การทำบุญในเวลาที่ต้นข้าวออกรวงเป็นน้ำนม จึงมีพิธีรับขวัญรวงข้าวเพื่อให้เป็น ศิริมงคลแก่ข้าวในนาด้วย หัวข้อ: Re: วันเพ็ญ เดือน 12 เหนือ วันปล่อยผีล้านนา (ประเวณีปล่อยผีปล่อยเปรต ) เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ กันยายน 04, 2009, 08:54:50 AM ส่วนศาสนาพุทธถือว่าเป็นการทำบุญเพื่อแสดงความยินดีว่าวันเดือนปี ก็ได้ ล่วงเลยไปแล้วโดยสวัสดีมีชัย จึงทำพิธีกวนกระยาสารทไปทำบุญเพื่อระลึกถึงพระพุทธองค์และเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
ประเพณีเดือนสิบประเพณีชิงเปรตของภาคใต้นั้น ทำกันทุกจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช นับเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมประเพณี ส่วนประชาชนในจังหวัดพัทลุง มีความเชื่อถือและบำเพ็ญกุศลวันสารทเดือนสิบ ปีหนึ่ง 2 ครั้ง เหมือนจังหวัดชุมพร และมีการยก “มวับ” เหมือนจังหวัดนครฯ แต่มีที่แตกต่างออกไป คือ เมื่อทำพิธีบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการ “ชิงเปรต” ผู้ที่ไปร่วมทำบุญทุกคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทั้งหญิงและชาย ต่างก็แย่งชิงขนม ที่ตั้งให้เปรตไว้ตรงทางเข้าวัด หรือบนร้านที่จัดไว้ มาเป็นส่วนของตน และเชื่อกันว่าใครได้กินขนมที่เหลือจากปู่ย่า ตา ยาย จะได้กุศลแรง ปู่ ย่า ตา ยาย จะอวยพรให้ได้อยู่เป็นสุข หัวข้อ: Re: วันเพ็ญ เดือน 12 เหนือ วันปล่อยผีล้านนา (ประเวณีปล่อยผีปล่อยเปรต ) เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ กันยายน 04, 2009, 08:55:07 AM ประเพณีบุญข้าวประดับดิน ของภาคอีสาน ทำกันเดือน 9 แรม 14-15 ค่ำ ซึ่งเป็นระยะย่างเข้าเดือน 12 เหนือ หรือเดือน 10 ใต้ ในวันดังกล่าวจะนำอาหาร พร้อมทั้งขนมหวานหมากพลู บุหรี่ ห่อด้วยใบตองกล้วยมัดด้วยตอกหรือเชือก จะเอาห่อใหญ่หรือเล็กตามที่ต้องการจะแยกเป็นหลายห่อ หรือนำห่อเล็ก ๆ มารวมกันก็ได้ แล้วแต่สะดวก แล้ววางไว้ในขันหรือพาน วันรุ่งเช้าขึ้น 1 ค่ำเดือน 10 ก็จะนำเอาห่อข้าวนั้นไปวางไว้กับพื้นดินใกล้โคนไม้ หรือแขวนไว้กับกิ่งไม้ตามทางแยกสามแพร่งหรือสี่แพร่ง หรือนำไปวางไว้ตามบริเวณวัด แล้วนิมนต์พระสงฆ์มารับสิ่งของเหล่านั้น อุทิศส่วนบุญไปถึงวิญญาณของผู้ตาย
หัวข้อ: Re: วันเพ็ญ เดือน 12 เหนือ วันปล่อยผีล้านนา (ประเวณีปล่อยผีปล่อยเปรต ) เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ กันยายน 04, 2009, 08:55:51 AM สำหรับการอุทิศหาผู้ตายของล้านนาไทย มีประเพณีสืบต่อกันมาเนื่องในการอุทิศกุศลแก่ญาติพี่น้องผู้ที่ตายไปแล้ว ถือกันว่าในวันเดือน 12 เหนือ ขึ้น 1 ค่ำถึงเดือนแรม 14 ค่ำนั้น พระยายมราชได้ปล่อยวิญญาณสัตว์ผู้ตายกลับมาสู่เมืองมนุษย์เพื่อขอรับเอาส่วนบุญกุศลจากญาติพี่น้องลูกหลาน จะได้พ้นจากภาวะแห่งเปรตอสุรกายทั้งหลาย ดังนั้นการปฏิบัติประเพณีก็ด้วยความกตัญญู ต้องการให้บุคคลผู้เป็นที่รักพบกับความสุขในปรโลก จึงได้ทำกันสืบ ๆ มา
หัวข้อ: Re: วันเพ็ญ เดือน 12 เหนือ วันปล่อยผีล้านนา (ประเวณีปล่อยผีปล่อยเปรต ) เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ กันยายน 04, 2009, 08:56:24 AM ตำนานทางพุทธศาสนากล่าวถึง เปรตญาติของพระราชาพิมพิสารไว้ดังนี้
ในกัลปที่ 92 นับแต่ภัทรกัลปนี้ขึ้นไปถึงศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า “ปุสสะ” พระพุทธบิดาทรงพระนามว่า “พระเจ้าชยเสนะ” พระพุทธมารดามีพระนามว่า “ศิริมา” พระเจ้าชยเสนะยังมีพระราชบุตรอีก 3 องค์ ต่างพระมารดา และเป็นพระกนิษฐาภาดาของพระปุสสะพระพุทธเจ้า ราชบุตรทั้ง 3 นี้ มีเจ้าพนักงานรักษาคลังหนึ่งเก็บส่วยในชนบท กาลต่อมาพระราชบุตรทั้งสามมีพระประสงค์จะบำเพ็ญกุศลบำรุงพระศาสนา ผู้เป็นพระเชษฐภาดา ตลอดไตรมาส (3 เดือน) จึงทูลขออนุญาตต่อพระราชบิดา เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว พระราชบุตรทั้งสามจังตรัสสั่งเจ้าพนักงานผู้เก็บส่วยในชนบทของพระองค์ให้สร้างวิหาร ครั้นสร้างเสร็จแล้ว พระราชบุตรทั้งสามจึงนำเสด็จพระพุทธเจ้าไปที่วิหาร และทูลถวายวิหารแก่พระศาสดา แล้วสั่งเจ้าพนักงานรักษาพระคลังและพนักงานเก็บส่วยว่า เจ้าจงดุแลจัดของเคี้ยวของฉันถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุ 90,000 องค์ที่เป็นพุทธบริวารและตัวเราทั้งสามกับบริวารด้วยทุก ๆ วัน ตลอดจนไตรมาสด้วย ตั้งแต่วันนี้ไปเราจักไม่พูดอะไร ตรัสแล้วก็พาบริวาร 1,000 องค์สมาทานศีล 10 แล้วประทับอยู่ในวิหารตลอดไตรมาส เจ้าพนักงานรักษาพระคลัง และเจ้าพนักงานเก็บส่วน ผลัดกันดูแลทานวัตต์ตามความประสงค์ของพระราชบุตรทั้งสามด้วยความเคารพ ครั้งนั้นชาวชนบทบางพวกมีจำนวน 84,000 คนได้ทำอันตรายต่อทานวัตต์ของพระราชบุตรทั้งสาม มีกินไทยธรรมเสียเองบ้าง ให้แก่บุตรเสียบ้าง เผาโรงครัวเสีย ชนเหล่านั้นครั้นทำลายขันธ์แล้วจึงไปบังเกิดในนรก กาลล่วงไปถึง 92 กัลปจนถึงกัลปนี้ ในพระพุทธศาสนา พระกัสสปะ สัมมาสัมพุทธเจ้า ชนเหล่านี้มีจิตอันอันอกุศลเบียบเบียนแล้วนั้น ได้มาบังเกิดในหมู่เปรต ครั้งนั้นมนุษย์ทำบุญให้ทานอุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรตที่เป็นญาติของตน เปรตเหล่านั้นก็ได้ซึ่งทิพย์สมบัตินานาประการ แต่หมู่เปรตผู้ทำลายเครื่องไทยธรรมพระราชบุตรทั้งสามนั้น หาได้รับส่วนกุศลไม่ เปรตเหล่านั้นจึงทูลถามพระกัสสปะพุทธเจ้าว่า ข้าพระพุทธเจ้านี้จะพึงได้สมบัติอย่างนี้บ้างหรือไม่ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายยังไม่ได้สมบัติในบัดนี้ ต่อไปภายหน้าในพุทธกาลแห่งพระโคดมพระพุทธเจ้า ญาติของท่านทั้งหลายจักได้เป็นพระราชา ทรงพระนามว่า “พิมพิสาร” และจักได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แล้วอุทิศผลบุญถึงท่านทั้งหลาย เมื่อนั้นแหละท่านจะได้สมบัติอย่างนี้ การล่วงมาได้พุทธันตรหนึ่งถึงพระพุทธศาสนา พระสัมมาพุทธเจ้าของเรานี้ เจ้าพนักงานผู้เก็บส่วนพระราชบุตรทั้งสามได้มาบังเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าพิมพิสารเมื่อได้ฟังเทศนาของพระพุทธเจ้าก็ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล และได้ถวายไทยธรรมแด่พระพุทธเจ้า แต่หาได้อุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรตที่เป็นญาติไม่เปรตที่เป็นญาติเหล่านั้นมาคอยรับส่วนกุศลอยู่ เมื่อมิได้รับส่วนกุศลตามความปรารถนาก็เสียใจ พอถึงเวลาราตรีหนึ่งก็ส่งเสียงร้องเรียกแปลกประหลาดน่าสะพึงกลัว ครั้งรุ่งสางขึ้น พระเจ้าพิมพิสารก็เสด็จเข้าเฝ้าพระศาสดาทูลถามเหตุนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสเนื้อความทั้งปวงแต่หนหลังให้พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เข้าไปรับเครื่องไทยธรรมในพระราชนิเวศน์ แล้วพระราชาทรงกระทำทักษ์โณทก ทรงอุทิศว่าอุทกนี้จงถึงหมู่ญาติของเรา ขณะนั้นฝูงเปรตที่มีความกระวนกระวาย และร่างกายที่น่าเกลียดน่ากลัวก็สูญหายไป กลับมีผิวพรรณงามผ่องใสดังทอง แล้วพระราชาถวายยาคูและของเคี้ยวอุทิศถึงญาติอีก ยาคูและของเคี้ยวอันเป็นทิพย์ก็เกิดขึ้นในสำเร็จประโยชน์แก่ฝูงเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น แล้วพระราชาถวายผ้าและเสนาสนะทรงอุทิศถึงญาติอีก ผ้าและเครื่องเสนาอาสนะปราสาทแต่ล้วนเป็นทิพย์ ให้สำเร็จประโยชน์แก่ฝูงเปรตเหล่านั้น แล้วสมเด็จพระทศพลก็ทรงอธิษฐานให้พระเจ้าพิมพิสารได้ทัศนาการฝูงเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้นได้ประสบความสุข พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงพระโสมนัสยิ่งนัก ในครั้งนั้นมีเรื่องสืบมาว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาติโรกุฑสูตร ทรงสรรเสริญทานที่ทายกอุทิศบริจาคแก่ญาติที่ตายไปแล้วอีกหลายวัน แล้วกล่าวคำอุทิศถึงญาติว่า “อิทํ โว ญาตีนํ โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตโย ฯ” ทานนี้จงถึงญาติทั้งหลาย (ที่เกิดในเปรตวิสัย) ขอญาติเหล่านั้นจงมีความสุข (คือได้เสวยผลแห่งทานได้ความสำราญ) อนึ่งผู้บริจาคทานนั้นก็หาได้ไร้ผลไม่ เป็นการสร้างสมบุญกุศลให้เพิ่มยิงขึ้น กลับมีอานิสงฆ์ยิ่งใหญ่ให้ผู้อื่นได้อนุโมทนาอีก การร้องไห้เศร้าโศกปริเวทนา หาผู้ที่ตายไปไม่เป็นประโยชน์อย่างไรแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว มีแต่การทำบุญอุทิศกุศลเท่านั้นจะได้ผลแก่เขาในปรภพแล ในวันเดือน 12 เหนือขึ้น 14 ค่ำ จะเป็นวันแต่งดาเตรียมข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ไว้พร้อมสรรพ รุ่งขึ้นเป็นวันเดือน 12 เพ็ญ ชาวบ้านจะนำเอาอาหารใส่ถาดไปวัดและจะถวายแด่พระภิกษุเรียกว่า “ทานขันข้าว” มีการหยาดน้ำอุทิศบุญกุศลด้วยโดยให้พระเป็นผู้กรวดให้เพราะถือว่าท่านเป็นผุ้ทรงศีลบุญกุศลจะถึงแก่ผู้ตายได้ง่าย การทำบุญอุทิศกุศลนั้น มีการทำ 2 แบบ คือ อุทิศแก่ผู้ตายธรรมดา 1. อุทิศแก่ผู้ตายโดยอุบัติเหตุพวกผีตายโหง 2. อุทิศแก่ผู้ตายธรรมดาญาติจะนำอาหารไปถวายที่วัด ถือว่าวิญญาณผู้ตายธรรมดาจะเข้าออกวัดได้โดยสะดวก ส่วนผีตายโหงนั้น เข้าวัดไม่ได้เพราะอำนาจแห่งเวรกรรม ญาติต้องถวายอาหารพระนอกวัด คือ นิมนต์พระมานอกกำแพงวัดแล้วถวาย เช่นเดียวกับบุญข้าวประดับดินของอีสาน การทำบุญอุทิศถึงผู้ตายนี้ ถ้ามีญาติหลายคนที่ตายไปแล้วจะต้องอุทิศให้คนละขัน หรือคนละถาดกล่าวคือจะต้องถวายหลายครั้งตามจำนวนคน แต่บางรายก็จดรายชื่อให้พระ เวลาพระให้พรจะได้ออกชื่อผู้ตายตัวอย่างคำให้พรอุทิศแก่ผู้ตายดังนี้ “ดีและอัชชะในวันนี้ก็หากเป็นวันดี สะหรีอันประเสริฐล้ำเลิศกว่าวันดังหลาย บัดนี้หมายมีมูลศรัทธา…(ชื่อผู้ถวาย)….ได้สระหนงขงขวายตกแต่งแปงพร้อมน้อมนำมา ยังมธุบุปผาลาชาดวงดอกข้าวตอกดอกไม้ลำเทียน ข้าวน้ำโภชนะอาหารมาถวายเป็นทานเพื่อจักอุทิศะผละหน้าบุญ ผู้อันจุติตาย มีนามกรว่า ..(ผู้ตาย)…หากว่าได้วางอารมณ์อาลัย มรณะจิตใจไปบ่ช่าง ไปตกท้องหว่างจตุราบาย ร้อนบ่ได้อาบอยากบ่ได้กิ๋น ดังอั้นก็ดี ขอผละหน้าบุญอันนี้ไปอุ้มปกยกออก จากที่ร้ายคล้ายมาสู่ที่ดี หื้อได้เกิดเป็นเทวบุตร เทวดา อินทาพรหมตนประเสริฐดั่งอั้นก็ดี ขอผละหน้าบุญอันนี้ไปเตื่อมแถม ยังสะหรีสัมปติยิ่งกว่าเก่า สุขร้อยเท่าพันปูน ผละหน้าบุญนี้ชักนำรอดเถิงเวียงแก้วยอดเนรพานนั้นจุ่งจักมีเที่ยงแท้ดีหลี…” หัวข้อ: Re: วันเพ็ญ เดือน 12 เหนือ วันปล่อยผีล้านนา (ประเวณีปล่อยผีปล่อยเปรต ) เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ กันยายน 04, 2009, 08:56:40 AM ศรัทธาประชาชนบางคนนอกจากทานขันข้าวอุทิศส่วนกุศลแล้ว ยังนิมนต์พระมาเทศน์ที่บ้านอุทิศกุศลแก่ผู้ตายด้วย บางรายก็ไปนิมนต์พระเทศน์ที่วัดพร้อมกับการถวายอาหาร ทานขันข้าว พระคัมภีร์ที่นิยมเทศน์ในวันดังกล่าวนี้ประกอบด้วย
๑. ธรรมเปตพลี ๒. ธรรมมาลัยโผด ๓. ธรรมมูลนิพพาน ๔. ธรรมมหามูลนิพพาน ๕. ธรรมตำนานดอนเต้า ๖. ธรรมตำนานพระยาอินทร์ หัวข้อ: Re: วันเพ็ญ เดือน 12 เหนือ วันปล่อยผีล้านนา (ประเวณีปล่อยผีปล่อยเปรต ) เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ กันยายน 04, 2009, 08:56:57 AM คัมภีร์เหล่านี้นิยมใช้เทศน์อุทิศส่วนกุศลเจ้าภาพอาจจะบูชาเอาผูกใดผูกหนึ่ง คือ เรื่องใดเรื่องหนึ่งเทศน์ให้ฟังเป็นอานิสงฆ์แห่งการฟังธรรมอุทิศเป็นปุพพเปตพลี
การทำบุญอุทิศหาผู้ตายนี้ หากจะพิจารณาถึงประโยชน์แล้วได้สิ่งที่เป็นสาระหลายประการคือ ๑. เป็นการสร้างความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชน ๒. เป็นการสังคหะช่วยเหลือผู้ตายอื่น ๆ และถวายอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์จำนวนมาก ซึ่งจำพรรษาอยู่ ๓. เป็นการสร้างความสามัคคียึดเหนี่ยวน้ำใจ คนข้างเคียงมิตรสหาย ๔. เป็นการสร้างความสุขใจให้แก่ผู้กระทำ ๕. เป็นการอบรมลูกหลานให้เข้าใจในระเบียบประเพณี ๖. เป็นการอนุรักษ์มรดกของบรรพบุรุษไว้นานเท่านาน ดังนั้นประเพณีอุทิศหาผู้ตายในวันเดือนสิบสองเพ็ญจึงเป็นประเพณีที่ดีงาม ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ให้เจริญและคงอยู่กับลูกหลานสืบไป หัวข้อ: Re: วันเพ็ญ เดือน 12 เหนือ วันปล่อยผีล้านนา (ประเวณีปล่อยผีปล่อยเปรต ) เริ่มหัวข้อโดย: dondarlink ที่ กันยายน 04, 2009, 09:35:07 AM ทาน คือ การให้ ย่อมกำจัดความตระหนี่ ความคับข้องหมองใจได้
หัวข้อ: Re: วันเพ็ญ เดือน 12 เหนือ วันปล่อยผีล้านนา (ประเวณีปล่อยผีปล่อยเปรต ) เริ่มหัวข้อโดย: auto ที่ กันยายน 04, 2009, 09:39:13 AM ขอบคุณ..ข้อมูล ครับ :16:
|