หัวข้อ: "อุโบสถเงิน" ที่วัดศรีสุพรรณ เริ่มหัวข้อโดย: Forever ฺBlessing ที่ กรกฎาคม 26, 2009, 11:47:55 AM “วัดศรีสุพรรณ” ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่นอกเขตกำแพงเมืองชั้นใน หรือที่เรียกกันว่าคูเมือง และตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองชั้นนอก หรือแนวกำแพงเมือง เลขที่ 100 ถนนวัวลาย ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน 10 ตารางวา รวมทั้งบริเวณอันเป็นที่ของโรงเรียนเทศบาลวัดศรีสุพรรณด้วย
วัดศรีสุพรรณ เป็นวัดที่มีประวัติยาวนาน ปัจจุบันคงเหลือร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ทั้งทางด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรมของล้านนาโบราณอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งปรากฏในรูปแบบต่างๆคือ “หลักศิลาจารึกประวัติวัด” ที่จารึกด้วยอักษรฝักขามบนหินทรายแดง ตามหลักศิลาจารึกของวัดศรีสุพรรณกล่าวไว้ว่า ในปี พ.ศ.2043 พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช หรือพระเมืองแก้ว กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ ในราชวงศ์มังราย และพระนางสิริยสวดี พระราชมารดาเจ้า โปรดเกล้าให้เจ้าหมื่นหลวงจ่าคำมหาอำมาตย์ นำพระพุทธรูปทองสำริดองค์หนึ่ง ซึ่งก็คือ “พระพุทธปาฏิหาริย์” หรือ “พระเจ้าเจ็ดตื้อ” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสนผสมสุโขทัย มาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ ในคราวสร้างวัดชื่อว่า “วัดศรีสุพรรณ” วัดศรีสุพรรณอาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาจากพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช และอาราธนาพระสงฆ์ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.2052 สำหรับพระเจ้าเจ็ดตื้อ ที่มีอายุราว 509 ปีนี้ มีตำนานเล่าขานถึงการแสดงพุทธปาฏิหาริย์ นำความสำเร็จสมความปรารถนาแก่ผู้มาอธิษฐานจิต โดยเฉพาะผู้หญิง เป็นที่เคารพสักการะแก่ศรัทธาประชาชนเป็นอันมาก นอกจากพระพุทธปาฏิหาริย์ ที่มีความเก่าแก่แล้ว “หอไตร” ก็เป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมล้านนาโบราณ ที่ใช้เป็นสถานที่เก็บคัมภีร์ใบลาน และใช้ประโยขน์อื่นๆของวัด “วิหาร” ก็เป็นสถาปัตยกรรมล้านนาโบราณเช่นเดียวกัน สร้างในสมัย “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” โดยพระเจ้ากาวิโรรส เมื่อประมาณ พ.ศ.2342 พระครูพิทักษ์สุทธิคุณ (สุพล สุทุธสีโล) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้ทำการปฏิสังขรณ์ผสมศิลปะร่วมสมัย โดยรักษาของที่มีอยู่เดิม แล้วเพิ่มเติมงานศิลป์ชุดใหม่ คือ ภาพโพธิปักขิย ภาพเมืองนิพพาน ภาพ 12 พระธาตุประจำปีเกิด ภาพพุทธจักรวาล โดยใช้สีโทนทอง และสร้างภาพชุดทศชาติด้วยฝีมือช่างเครื่องเงินภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้าน ศรีสุพรรณ โดยทำด้วยอลูมิเนียมทำให้โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ วิหารหลังนี้ใช้เป็นศูนย์กลางประกอบศาสนกิจของวัดในปัจจุบันมาโดยตลอด ในส่วนของ “พระบรมธาตุวัดศรีสุพรรณ” เป็นเจดีย์ที่ก่ออิฐถือปูนแบบล้านนา ฝีมือช่างหลวง ทรงองค์ระฆังกลม ตั้งบนฐานดอกบัวคว่ำบัวหงายแปดชั้นแปดเหลี่ยม ตั้งบนฐานรองรับทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สามสิบหก ได้มีการบูรณะมาหลายครั้งแล้ว และด้วยความเก่าแก่ของวัดทำให้อุโบสถเดิมได้ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา ไม่เอื้อต่อการประกอบศาสนกิจ ของพระสงฆ์ กอปรกับกลุ่มศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ ชมรมส่งเสริมสล่าล้านนา มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่ต้องการจะสืบสาน ส่งเสริมภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องเงิน ถนนวัวลาย ดังนั้นเมื่อ พ.ศ. 2547 จึงมีแนวคิดสร้าง อุโบสถเงินหลังแรกของโลก ให้เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดย “อุโบสถเงิน” หลังนี้ใช้วิธีการก่อสร้างจากฐานและพัทธสีมาและพระพุทธประธานในอุโบสถหลัง เดิม ลักษณะเป็นอุโบสถรูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนา ก่อด้วยอิฐถือปูน ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 17.50 เมตร สูง 18 เมตร ประดับตกแต่งสลักลวดลายแนวประเพณีล้านนา ภายในศิลปกรรมแสดงถึงการเคารพสักการะพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ ส่วนภายนอกศิลปกรรมแสดงสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งลวดลายทุกส่วนล้วนสลักตกแต่งด้วยภูมิปัญญาเครื่องเงิน โดยใช้กรรมวิธี บุ คุนลวดลายด้วยแผ่นเงิน เงินผสม และวัสดุแทนเงิน(อลูมิเนียม) ทั้งภายในภายนอกรวมทั้งหลัง โดยถือว่าอุโบสถเงินหลังนี้จะเป็นแหล่งรวบรวมลวดลายศิลปะล้านนาและลวดลาย ประจำท้องถิ่น แม้ขณะนี้จะยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์แต่ก็มีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมและกราบ ไหว้อยู่สม่ำเสมอ ปัจจุบันวัดศรีสุพรรณ ยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานช่างสิบหมู่ สืบสานงานศิลป์จากภูมิปัญญาแห่งแผ่นดินสู่งานศิลป์ช่างสิบหมู่ ส่งเสริมการท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์ภูมิปัญญาพัฒนาสืบสานจารีตประเพณีท้องถิ่น สร้างฐานเศรษฐกิจชุมชนหัตถกรรมสล่าล้านนาอาทิ สล่าเงิน สล่าแกะ และสล่าหล่อ ฯลฯ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000032194 หัวข้อ: Re: "อุโบสถเงิน" ที่วัดศรีสุพรรณ เริ่มหัวข้อโดย: toto ที่ กรกฎาคม 26, 2009, 01:28:38 PM :11: :11: :11:
(http://teawchiangmai.com/chiangmaiboard/index.php?action=dlattach;topic=68.0;attach=8302) |