จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2

เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ => แนะนำ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ในเชียงใหม่ => ข้อความที่เริ่มโดย: Dockaturk ที่ กรกฎาคม 01, 2016, 02:37:14 PM



หัวข้อ: รวมมิตรชุมชนหัตถกรรมกับผลงานอันสร้างชื่อ
เริ่มหัวข้อโดย: Dockaturk ที่ กรกฎาคม 01, 2016, 02:37:14 PM
หนึ่งในรูปแบบการท่องเที่ยวที่จะช่วยให้เราได้เรียนรู้ และซึมวับวิถีชีวิตความเป็นชุมชนมากที่สุดก็คือ การท่องเที่ยวในรูปแบบวัฒนธรรมกันครับ

เอ่ยกันถึงรูปแบบการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม มันคือการได้เข้าไปเรียนรู้ศึกษาด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เชิงประวัติศาสตร์ ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เพื่อชื่นชมและเพลิดเพลินในสถานที่ท่องเที่ยวได้ความรู้มีความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในท้องถิ่น อันจะช่วยให้มีจิตสํานึกต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่า ของสภาพแวดล้อม การท่องเที่ยวงานชมวัฒนธรรมและประเพณี ที่ต้องชมงานประเพณีต่างๆ ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ  เพื่อความเพลิดเพลินตื่นตาตื่นใจในสุนทรียะศิลป์ เพื่อศึกษาความเชื่อ การยอมรับนับถือ การเคารพพิธีกรรมต่างๆ และได้รับความรู้มีความเข้าใจต่อสภาพสังคมและวัฒนธรรม  และอีกอัน คือการท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท เพื่อสัมผัสลักษณะวิถีชีวิต มีความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น

และสำหรับการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรมที่ผมจะนำเสนอนี้ เป็นการหยิบแง่มุม ในเชิงของการเรียนรู้ถึงผลงานสล่า ภูมิปัญญาจากชาวบ้าน ที่ได้สร้างสรรค์ผลงาน ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้แก่ชุมชน จนมีชื่อเสียง บางแห่งหลายคนอาจจะคุ้นชื่อ แต่ก็ยังมีอีกหลายแห่ง ที่หลายคนแทบจะไม่รู้จักกัน

อนึ่ง จากการได้ลงพื้นที่ด้วยตัวเอง ทำให้ทราบถึงข้อเท็จจริงหลายอย่างเกี่ยวกับคนในชุมชน เรื่องช่องทางตลาดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ อนาคตของการอยู่รอดว่าจะไปทิศทางไหน จนทำให้ภาพี่สวยงามที่เคยวาดไว้ก่อนไปถึงนั้น มันกลับตัลปัตร ซึ่งเรื่องเหล่านี้ถ้ามีโอกาสจะแวะมาเขียนเต็มๆ ให้อ่านกันครับ เพื่อเป็นกระบอกเสียงหนึ่งให้กับคนในชุมชน และทำให้คนที่ดูแล หรือมีส่วนเกี่ยวข้องช่วยกันแก้ไขปัญหา

กลับมาที่เรื่องของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่จะแนะนำกัน จากการคัดสรรมา โดยเลือกจากผลงานที่น่าสนใจ และเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนในชุมชม กระผมขอร่ายยาวกันดังต่อไปนี้

หัตถกรรมเครื่องเงิน ชุมชนวัดศรีสุพรรณ
ชุมชนเก่าแก่ ที่บรรพบุรุษของชาวชุมชนวัดศรีสุพรรณเดิมตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องเงินอยู่ใน แขวงเมืองปั่น แถบลุ่มแม่น้ำสาละวิน  โดยในสมัยนั้นเป็นช่างฝีมือที่มีทักษะในการทำเครื่องเงิน และได้รับการสืบทอดวิชาชีพช่างเงินมาจากบรรพบุรุษ ยึดอาชีพทำเครื่องเงินเพื่อสร้างรายได้แก่ครอบครัว โดยมีแบ่งการกันทำภายในครอบครัว ซึ่งฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายตีขึ้นรูปภาชนะ ในขณะที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายตกแต่งให้มีความประณีตสวยงาม ผู้เฒ่าและเด็ก ๆ มีหน้าที่ขัดเงาให้เครื่องเงินมีความงดงามน่าใช้ มีผลิตภัณฑ์เด่นเป็น สลุงและขันเงินถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนวัดศรีสุพรรณ โดยสลุงและขันเงินมีรูปร่างลักษณะที่คล้ายคลึงกันเพียงแต่มีน้ำหนักที่ไม่เท่ากัน  นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนวัดศรีสุพรรณอื่น ๆ อาทิ ข้อแข้งข้อขา (กำไลข้อเท้า) เป็นเครื่องประดับสำหรับเด็ก ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องประดับทั่วไปและโต๊ะใส่เมี่ยงเพื่อถวายพระที่มีลวดลาย ที่สวยงามซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่หาได้ยากในปัจจุบัน


หัวข้อ: Re: รวมมิตรชุมชนหัตถกรรมกับผลงานอันสร้างชื่อ
เริ่มหัวข้อโดย: Dockaturk ที่ กรกฎาคม 01, 2016, 02:37:27 PM
เครื่องปั้นดินเผา บ้านเหมืองกุง
หมู่บ้านเก่าแก่ของเชียงใหม่ มีการปั้นน้ำต้นและหม้อน้ำมานานกว่า 200 ปี จากคำบอกเล่าที่สืบทอดต่อกันมา ชาวบ้านเหมืองกุงส่วนหนึ่งเป็น ชาวไทที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองปุ เมืองสาด รัฐเชียงตุง ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของไทย หมู่บ้านเหมืองกุงนั้น ถือว่าขึ้นชื่อในเรื่องของการทำน้ำต้นที่ทนทาน เมื่อยกรินแล้วคอน้ำต้นไม่หักออกจากตัวน้ำต้น ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง คือ ลายใบโพธิ์ หรือลายรูปหัวใจ ลักษณะของลวดลายคล้ายกับรูปหัวใจคว่ำ ทั้งยังมีเทคนิคในการขัดเงาเครื่องปั้นดินเผาซึ่งไม่สามารถทำได้ในหมู่บ้านอื่น เทคนิคนี้คือใช้หินจากลำธารก้อนขนาดพอประมาณขัดบนเครื่องปั้นดินเผาด้วยการออกแรงเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะทำให้ผิวของเครื่องปั้นดินเผาขึ้นเงาได้อย่างรวดเร็ว แต่หากออกแรงมากเกินไปจะทำให้ผิวของเครื่องปั้นดินเผาถลอกเป็นรอยและไม่ขึ้นเงาแต่อย่างใด ดังนั้นการขัดเงาจึงขึ้นอยู่กับทั้งความเชี่ยวชาญของการคัดเลือกหินที่เหมาะสมจากลำธารมาใช้ และกับความชำนาญในการลงน้ำหนักมือด้วยน้ำหนักที่พอเหมาะพอดีของช่างขัดเงาอีกด้วย

หัตถกรรมกระดาษสา บ้านดงป่าซาง
ที่อดีตชาวดงป่าซางใช้ต้นปอสาทำกระดาษสำหรับการบันทึกบทธรรมและหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ต่อมาก็ได้เริ่มมีการใช้กระดาษกันในกิจกรรมที่หลากหลายมากขึ้น จนกลายมาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้แก่คนในชุมชน มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน อาทิเช่น กระดาษสาสำหรับทำวอลเปเปอร์แผ่นใหญ่ และกระดาษสาลายลูกไม้ซึ่งถือได้ว่าเป็นถิ่นผลิตที่เดียวในประเทศไทย อีกทั้งความโดดเด่นของกระดาษสาในหมู่บ้านดงป่าซาง คือการนำเอาวัสดุธรรมชาติมาตกแต่ง แต่งแต้มลวดลายลงบนกระดาษสาโดยจะมีทั้งวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นที่เป็นพืชผักสวนครัว เช่น แครอท หอมหัวใหญ่ ผักชี กระเทียม วัสดุธรรมชาติที่เป็นดอกไม้ เช่น ดาวเรือง ดาวกระจาย เฟื่องฟ้า อัญชัน เข็ม วัสดุธรรมชาติที่เป็นใบไม้ เช่น ใบมะขาม ใบเฟิร์น ใบโพธิ์ ใบสน ใบมะละกอ ใบฉำฉา ใบไผ่ และวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ เช่น เปลือกข้าว กาบมะพร้าว ใยข้าวโพด เยื่อหญ้าคา และเมล็ดประดู่

เครื่องปั้นดินเผา บ้านป่าตาล
ชุมชนที่ได้รับการสืบทอดการปั้นดินเผามานานกว่า 100 ปี ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษที่ได้ย้ายที่ตั้งมาจากบ้านห่างแสงลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านขวัญเวียงในปัจจุบัน โดยในอดีตบรรพบุรุษของชาวหมู่บ้านป่าตาลมีอาชีพทำไร่ทำนา เมื่อมีเวลาว่างชาวหมู่บ้านจะไปขุดดินเหนียวจากหัวไร่ปลายนาขึ้นมาปั้นเป็นเครื่องปั้นดินเผาในรูปของ อิฐมอญ คนโท แจกัน และกระปุกออมสิน มีผลิตภัณฑ์หลักและผลิตภัณฑ์ที่ขายดี ได้แก่ ตุ๊กตาดินเผาเด็กไทยหน้ายิ้มที่อยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ นอกจากนั้นชาวป่าตาลยังได้มีการสร้างสรรค์เครื่องปั้นดินเผาในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดความหลาหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟตั้งโต๊ะทำจาก ดินเผาและเครื่องปั้นดินเผารูปเครื่องจักสาน เช่น กระบุง กล่องข้าวเหนียวและข้องดักปลา เป็นต้น


หัวข้อ: Re: รวมมิตรชุมชนหัตถกรรมกับผลงานอันสร้างชื่อ
เริ่มหัวข้อโดย: Dockaturk ที่ กรกฎาคม 01, 2016, 02:37:41 PM
เครื่องปั้นดินเผา บ้านกวนวัวลาย
ที่ดั้งเดิมผู้คนอพยพมาจากเมืองแสนหวีและสิบสองปันนามาอยู่ที่เวียงกุมกาม ซึ่งการอพยพในครั้งนั้นก็มีช่างปั้นหม้อและช่างทำเครื่องเงิน ร่วมเดินทางมาด้วย ก่อนจะตั้งรกรากอยู่ที่อำเภอหางดงเพื่อทำเครื่องเงินและปั้นหม้อ เพื่อใช้ในชุมชนและทำส่งให้กับอาณาจักรใกล้เคียง มีเทคนิคการปั้นหม้อแบบโบราณเอาไว้ โดยขั้นตอนต่าง ๆ ในการปั้นหม้อจะพยายามรักษาให้เป็นแบบดั้งเดิมที่สุด  ผลิตภัณฑ์หม้อดินเผาล้านนาที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านกวนนี้มีอยู่หลายอย่าง  เช่น หม้อต้ม หม้อนึ่งผัก หม้อเหล้ายางหรือหม้อต้มเหล้าขนาดเล็ก เตาเคียงไฟหรือเตาอั้งโล่ หม้อกระถังซึ่งใช้ใส่ข้าวสารหรือใส่น้ำล้างเท้าวางไว้บริเวณบันไดหน้าบ้าน หม้ออุ๊บที่คนโบราณใช้สำหรับเก็บเสื้อผ้าและของต่าง ๆ และหม้อครามที่คนโบราณใช้ในการย้อมครามผ้า แต่ในปัจจุบันได้มีการนำหม้อครามนี้มาใช้เป็นหม้อแกงขนาดใหญ่ ไม่เพียงเท่านี้ ที่บ้านกวนยังมีผลิตภัณฑ์อื่นซึ่งเป็นทั้งผลิตภัณฑ์หลักและผลิตภัณฑ์ขายดีอยู่หลายอย่าง ได้แก่ หม้อน้ำ หม้อแกง หม้องวง หม้อต่อมและหม้อชุดต้มยำ

หัตถกรรมแกะสลักไม้ บ้านถวาย
หมู่บ้านเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 300 ปี เป็นแหล่งรวบรวมสินค้าหัตถกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยเทคนิคและประสบการณ์ที่สะสมมากว่า 40 ปี ทำให้สินค้าของบ้านถวายนับว่าเป็นสินค้าที่มีความหลากหลาย ความโดดเด่นและมีชื่อเสียงและคุณภาพระดับโลก โดยสินค้าของบ้านถวายนั้นได้ถูกจัดออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ จำนวน 5 หมวดหมู่ เช่นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน สินค้าเฟอร์นิเจอร์ งานไม้แกะสลัก งานแต่งเส้นเดินลาย ของที่ระลึก แต่ที่เด่นสุดคือ การแกะสลักไม้ที่มีเทคนิคความซับซ้อนและมีความประณีตบรรจง ที่ต้องอาศัยทั้งทักษะและประสบการณ์

หัตถกรรมกระดาษ บ้านต้นเปา
แหล่งผลิตกระดาษสาที่มีชื่อเสียงของเชียงใหม่และได้ทำมานานกว่า 100 ปี สืบทอดมาจากชนเผ่าไทยเขินซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวต้นเปาที่ได้อพยพมาจากสิบสองปันนา เชียงตุง และเชียงรุ้ง เมื่อสมัยก่อตั้งอาณาจักรล้านนา ผลิตภัณฑ์ขายดีของหมู่บ้านต้นเปานั้น ได้แก่ แผ่นกระดาษสาลาย บาติกและกระดาษสาแตะดอก กล่องกระดาษสา สมุดโน้ตและอัลบั้มที่ทำจากกระดาษสา นอกจากนั้น ที่หมู่บ้านต้นเปายังมีผลิตภัณฑ์กระดาษสาและผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากกระดาษสาแบบอื่น ๆ ที่สวยงามและมีหลากหลายแบบหลายขนาดไว้ให้ผู้ที่สนใจได้เลือกซื้อ

คัวตอง วันพวกแต้ม
แหล่งรวบรวมสล่าฝีมือดี ในการสร้างฉัตร ซ่อมแซมฉัตรตกแต่งลวดลายตามวัดวาอารามต่างๆ จนถึงขั้นก่อตั้งสมาคมสล่าขึ้นในนาม “คัวตอง”จนชุมชนแห่งนี้กลายเป็นชุมชนช่างทำฉัตรพวกแต้ม อันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น  ซึ่งมีผลงานฉัตรปรากฏทั่วไปหลายที่ โดยฉัตร หรือที่เรียกว่า คัวตอง คือเครื่องประดับคล้ายร่มในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น เจดีย์ หรือ พระบรมธาตุจะมีฉัตรเพื่อความสวยงาม ฉัตรจึงใช้ในฐานะเป็นสัญลักษณ์แทนของสูง ชาวล้านนานิยมทําฉัตร ประดับไว้บนหลังคาโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ ซึ่งชุมชนพวกแต้มนี้ ถือว่ามีชื่อเสียงในการทําฉัตรกันมาอย่างยาวนาน


หัวข้อ: Re: รวมมิตรชุมชนหัตถกรรมกับผลงานอันสร้างชื่อ
เริ่มหัวข้อโดย: auto ที่ กรกฎาคม 02, 2016, 09:52:08 AM
เชียงใหม่ มีงาน ด้านหัตกรรมเยอะ หลายชุมชน